วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โนราโรงครู





















โนราโรงครู
โนราโรงครูเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญในวงการโนราเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะเป็นพิธีกรรมเพื่อเชิญครูหรือบรรพบุรุษของโนรามายังโรงพิธี เพื่อรับการเซ่นสังเวย เพื่อรับของแก้บน และเพื่อครอบเทริดหรือผูกผ้าแก่ผู้แสดงโนรารุ่ยใหม่ ด้วยเหตุที่ต้องทำการเชิญครูมาเข้าทรง ( หรือมา " ลง " ) ยังโรงพิธี จึงเรียกพิธีกรรมนี้อีกชื่อหนึ่ง คือ " โนราลงครู " โดยปกติการร่ายรำมโนราหากจัดขึ้นเพื่อการชมในฐานะมหรสพก็เรียกว่า " โนรารำ " ถ้าคณะโนราเดินทางไปแสดงต่างถิ่นในลักษณะแสดงเร่ไปเรื่อย ๆ เรียกว่า " โนราเดินโรง " และถ้าให้โนราตั้งแต่ 2 คณะแสดงประชันแข่งขันกันก็เรียกว่า " โนราโรงแข่ง " " ครู " ตามความหมายของโนรามีสองความหมาย ประการแรกหมายถึง ผู้สอนวิชาการร้องรำโนราแก่ตนเอง หรือแก่บรรพบุรุษของตน ความหมายที่สอง หมายถึงบรรพบุรุษหรือผู้ให้กำเนิดโนรา เช่นขุนศรีศรัทธา นางนวลทองสำลี และแม่ศรีมาลา บรรพบุรุษตามความหมายนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " ตายายโนรา " สำหรับวัตถุประสงค์ในการแสดงโนราโรงครูมี ๓ประการ คือ ๑. เพื่อไหว้ครู หรือ ไหว้ตายายโนรา ด้วยเหตุที่ศิลปินต้องมีครู ดังนั้นผู้แสดงโนราหรือเทือกเถาเหล่ากอของโนราจึงต้องยึดถือเป็นธรรมเนียมจะต้องมีการไหว้ครูเหมือนศิลปินอื่น ๆ และแสดงกตเวทิตาคุณต่อครูของตน การไหว้ครูและแสดงกตเวทิตาคุณของโนราทำโดยการรำโรงครูนี้เอง ๒. เพื่อแก้บน นอกเหนือจากการไหว้ครูข้างต้นแล้ว โนราโดยทั่วไปจะถือว่าครูโนราของตนที่ล่วงลับไปแล้วเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นเมื่อมีเหตุเพทภัยเกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว หรือญาตมิตร ก็มักจะบนบานศาลกล่าวต่อบรรชนเหล่านั้นให้มาช่วยขจัดปัดเป่าเหตุเพทภัยนั้น หรือบางครั้งบนบานศาลกล่าวขอให้ตนประสบโชคดี ซึ่งเมื่อสมประสงค์แล้วก็ต้องทำการแก้บนให้ลุล่วงไป ทางออกของโนราในกรณีนี้ก็คือการรำโนราโรงครู ๓.เพื่อครอบเทริด ธรรมเนียมนิยมอย่างหนึ่งของศิลปินไทย คือการครอบมือแก่ศิลปินใหม่ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมอันเป็นมิ่งมงคลยิ่งของชีวิตศิลปิน ซึ่งโนราก็หนีไม่พ้นธรรมเนียมนิยมนี้ แต่เรียกว่า " พิธีครอบเทริด " หรือ " พิธีผูกผ้าใหญ่ " หรือ " พิธีแต่งพอก " หากพิธีนี้จัดขึ้นเมื่อใดก็ตาม จำเป็นต้องมีการรำโนราโรงครูทุกครั้งชนิดของโนราโรงครู
โนราโรงครูมี ๒ ชนิด คือ ๑.โรงครูใหญ่ หมายถึงการรำโนราโรงครูอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะต้องกระทำต่อเนื่องกัน 3 วัน 3 คืนจึงจะจบพิธี โดยจะเริ่มในวันพุธ ไปสิ้นสุดในวันศุกร์ และจะต้องกระทำเป็นประจำทุกปี หรือทุกสามปี ทุกห้าปี ซึ่งต้องใช้เวลาเตรียมการกันนานและใช้ทุนทรัพย์สูง จึงเป็นการยากที่จะทำได้ ๒.โรงครูเล็ก หมายถึงการรำโรงครูอย่างย่นย่อ คือใช้เวลาเพียง 1 วันกับ 1 คืน โดยปกติจะเริ่มในตอนเย็นวันพุธแล้วไปสิ้นสุดในวันพฤหัสบดี ซึ่งการรำโรงครูไม่ว่าจะเป็นโรงครูใหญ่หรือโรงครูเล็กก็มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวการณ์และความพร้อม การรำโรงครูเล็ก เรียกอีกอย่าง คือ " การค้ำครู " อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะเป็นการรำโรงครูใหญ่หรือรำโรงครูเล็กนับยเป็นธรรมเนียมนิยมอันดีของศิลปินโนรา เพราะนอกจากเป็นการรำลึกถึงบุญคุณครูแล้วยังเป็นการชุมนุมบรรดาศิษย์ของโนรารุ่นต่าง ๆได้อีกประการหนึ่งด้วย อันเป็นหนทางให้เกิดสัมพันธภาพอันดีต่อกันระหว่างครูกับศิษย์ ศิษย์กับศิษย์ โนรากับโนราให้คงอยู่กันอย่างแน่นแฟ้น ซึ่ง ณ ที่นี้ ขอชมเชยชาวตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ที่ยังคงจัดพิธีกรรมรำโนราโรงครูอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
บทเชิญครูมาลงในพิธีกรรมโนราโรงครูบทเกริ่น
ตาเอยตาหลวงลูกบวงสรวงราชครูถ้วนหน้า ครูกลอนของข้าแม่ศรีมาลาเป็นครูต้น ลูกจะข้ามก็ไม่รอดครั้นลูกจะลอดก็ไม่พ้น แม่ศรีมาลาเป็นครูต้นมารดาพ่อขุนศรัทธา แย้มพระโอษฐ์โปรดเกล้ามาเป็นคนเฒ่าแต่ก่อน มารดาศรัทธาท่าแคมีแต่พ่อเทพสิงหร ถ้าพ่อสมัครรักลูกจริงมาช่วยอวยสิงอวยพร ไหว้พ่อเทพสิงหรสอนมนต์พ่อขุนศรัทธา ไหว้ศรัทธารามโฉมงามเบิกหน้าบายตา ราชครูของข้าพ่อลับตาไปเสียแล้ว พ่อลับตาไปท้ายไทไปสู่วิมานแก้ว ลับตาไปเสียแล้วเหมือนแก้วมาหล่นไปจากอก โอ้อนิจจาลูกนึกขึ้นมาน้ำตาตก มาหล่นไปจากอกเหมือนลูกนกมาถูกเฉียว โอ้ว่าอนิจจามาทิ้งลูกยาไว้คนเดียวบทเชิญตาหมอเฒ่า ตาหมอเฒ่าเป็นต้นเชียกอย่าให้ลูกร้องเรียกหา ตาหมอเฒ่าเป็นเทพเป็นผู้วิเศษในเมืองพระพารา ตาหมอเฒ่าต้นหนให้ขับต้อนพลกันเข้ามา แต่ไหรแต่ก่อนรู้แล้วไม่หอนได้อยู่ช้า
บทเชิญพ่อเทพสิงหร
สิบนิ้วยอกรไหว้เทพสิงหรให้ร่อนมา เทพสิงหรของลูกแก้วแล้วแล้วไม่หอนได้อยู่ช้า
บทเชิญตาหมอเทพ
ตาหมอเฒ่ามาแล้วตาหมอเทพของลูกแก้วเชิญเข้ามา ตามหมอเฒ่าเดินหน้าตาหมอเทพลีลาเดินตามหลัง ตาหมอเทพของลูกแก้วแล้วแล้วไม่หอนได้อยู้ช้า มาจับตาซ้ายโยกย้ายไปจับที่ตาขวา มาจับที่ตาขวาให้ซ่านมาถึงหัวใจ มาจับแต่นิ้วกลางนิ้วนางพ่อเว้นไว้ให้ใคร รื่นรื่นไรไรไคลเข้าในร่างพระกายา
บทเชิญตาหลวงอินทร์
พ่อเทพสิงหรลงมาแล้วหลวงอินทร์ใจแก้วองค์ที่สี่ แต่ก่อนเคยได้ยินขึ้นชื่อหลวงอินทร์เขาใจดี เชิญลงมาองค์ที่สี่ใจดีดำเหนินเชิญพ่อมา ตาหมอหลวงอินทร์ของลูกแก้วเสียงแจ้วข้ากาศอาราธนาหา ถ้าหากผิดพลั้งอย่าถือเชิญหลวงอินทร์แลมือมโนรา ศิโรราบกราบไหว้ครูหมอตายายข้างซ้ายขวา มาเถิดมาต้าดำเหนินเชิญมาให้ไวไว ช้านักไม่ได้ธูปเทียนดอกไม้ต้องจอไฟ
บทเชิญตาหลวงทรง
ทั้งหญิงทั้งชายพี่น้องทั้งหลายเขาประสงค์ ความรักความห่วงความเป็นบ่วงตาหลวงทรง ถึงเวลาแล้วพ่อจะลงลูกขอเชิญมาเถิดพ่อมา มาเถิดมาต้าเพราะพระเวลามันไม่คอย หลวงทรงพ่อจงเลื่อนลอยจะให้ลูกหลานคอยไปถึงไหน ริบริบไรไรเข้าไปในร่างพระกายา มาเร็วเร็วเถิดพ่อแก้วลูกจะแผ้วแต่โรงไว้คอยท่า
บทเชิญโนรามี
มือข้าทั้งสิบนิ้วสอดขึ้นหวางคิ้วเหนือเกล้าเกศี ยกขึ้นวันทาลูกจะร้องเรียกหาโนรามี แต่ก่อนเขาใจดีพอมาปีนี้ลูกหลานไม่เคยเห็น แต่ก่อนแต่ไหรโนรามียอดใยน้ำใจเย็น ลูกหลานไม่หอนเห็นมาเล่นมารำเสียเถิดหนา มาเถิดโนรามีฤกษ์งามยามดีเชิญพ่อมา มาเถิดมาต้าหว่างตัวลูกยาร้องเรียก ดอกจิกดอกจักยังเล่าดอกรักดอกลำเจียก ตัวพ่อเหมือนควายส่วนตัวลูกชายเปรียบเหมือนเชียก ถ้าพ่อไปไหนลูกน้อยก็ตามเรียก ไม่ให้พ่อไปไกลจูงเข้าในโรงมโนรา
บทเชิญตาหลวงสิทธิ์
กล่าวถูกกล่าวผิดจะขออ้างหลวงสิทธิ์ติดต่อมา หลวงสิทธิ์ของลูกแก้วแล้วแล้วไม่หอนได้อยู่ช้า หลวงสิทธิ์เจ้าเอยทรามเชยจับทรงร่อนลงมา มาเถิดมาต้าดำเหนินเดินช้าอยู่ว่าไหร เข้ามาต้าเหวอยอดพ่อบุญรอดเข้ามาช้าอยู่ไย รีบรีบอย่าทำไรเข้ามาในโรงมโนรา หลวงสิทธิ์ของลูกแก้วแล้วแล้วไม่หอนจะอยู่ช้า ถ้าพ่อมาก่อนให้นั่งหน้ามาช้าให้นั่งอยู่อยู่ข้างหลัง เราแห่เจ้าเข้าตัวเหมือนแห่เจ้าอยู่หัวให้เข้าวัง ธงแดงแห่หน้าธงราชวาแห่ตามหลัง เชิญเข้าตามเส้นด้ายเคลื่อนย้ายเข้ามาตามเส้น







วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภาพเก็บตกจาก พิธีแห่เจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวที่ปัตตานี
















ภาพเก็บตกย้อนหลัง เผื่อปีหน้าใครสนใจจะมาเที่ยว รับรองไม่มีระเบิดแน่นอน

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เที่ยวสมุย





































เที่ยวสมุย วันหยุดยาววิสาขะ สมุยเปลี่ยนไปมากด้าน ประเพณี วัฒนธรรมวัตถุสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนุษย์ แต่สิ่งก่อสร้างตามธรรมชาติ หินตาหินยาย หินหลานไม่เปลี่ยน ขนาดเท่าเดิม

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศาลาทรงไทยเกาะยอ สงขลา
















สถาปัตยกรรม ศาลาไทย สร้างไว้ตามวัด ตามที่สาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้ พักผ่อน ใช้ทำพิธีทางศาสนา สร้างโดยการบากเข้าไม้ มีทั้งบากบ่า บากเจาะ ใช้ไม้ไผ่เป็นลิ่มแทนตะปู แสดงถึงความประณีต พยายามในการใช้ฝีมือของภูมิปัญญาชาวบ้าน

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
nongjik, pattani
ลีลาของฉัน ฉันขอลิขิต ตัวฉันเอง