วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ดอกไผ่บาน

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วังเก่าปัตตานี






วังจะบังติกอ




วังหนองจิก





วังสายบุรี




วังยะหริ่ง

วังเก่าในปัตตานี
วังเก่าในปัตตานี วังเก่าสมัย 7 หัวเมือง
ระหว่างปี พ.ศ. 2359 –2445 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเสิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯให้เจ้าเมืองสงขลาลงไปจัดการปกครองเมืองปัตตานี
โดยแบ่งเมืองปัตตานีออกเป็น 7 เมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี ยะลา ยะหริ่ง หนองจิก สายบุรี ระแงะ และรามันห ์ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา
นราธิวาสในปัจจุบัน แต่ละเมืองจะมีเจ้าเมืองปกครอง วังต่างๆ จึงเกิดขึ้นตามเมืองทั้ง 7 นี้ วังในสมัยนั้นเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและที่ทำงานของเจ้าเมือง และ
เรียกกันต่อๆ มาว่า วัง 7 หัวเมือง
สำหรับวังเก่าที่ปรากฏในจังหวัดปัตตานีในปัจจุบันได้แก่
วังจะบังติกอ
วังจะบังติกอสร้างในสมัยตนกูมูฮัมหมัด (พ.ศ. 2388 – 2399) เชื้อสายราชวงศ์กลันตันซึ่งพระบาทสมเด็พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปัตตานี วังจะบังติกอตั้งอยู่ริมแม่น้ำปัตตานีตรงสามแยกตำบลจะบังติกอในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ตัววังหันหน้าไปทางทิศ
ตะวันออกบนเนื้อที่ 7 ไร่ วังนี้สร้างโดยสถาปนิกชาวจีน ตัววังล้อมรอบด้วยกำแพงทึบก่ออิฐถือปูน รูปทรงของวังเป็นบ้านชั้นเดียวขนาดใหญ่
หลังคาทรงปั้นหยา หรือแบบลีมะ ตัวอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง 1 เมตร สร้างด้วยไม้ ภายในอาคารมีห้องโถงขนาดใหญ่ ใช้เป็นที่ทำงาน
ของเจ้าเมือง ส่วนด้านหลังจองห้องโถงจะเป็นที่อยู่อาศัยของภรรยาและบริวาร
วังจะบังติกอได้ใช้เป็นศูนย์กลางการปกครองในท้องถิ่นและเป็นที่อยู่
อาศัยของเจ้าเมืองปัตตานีคนต่อๆมา ได้แก่ ตนกูปูเต๊ะ บุตรชายคนโตของตนกูมูฮัมหมัด เมื่อตนกูปูเต๊ะถึงแก่กรรม บุตรชายคนโต คือ ตนกูตีมุง ได้
เป็นเจ้าเมืองต่อจนกระทั่งถึงสมัยตนกูอับดุลกอร์เดร์ เจ้าเมืองคนสุดท้าย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้จัดการปฏิรูป
การปกครองทั้งประเทศ จึงได้ยุบเมืองต่างๆ ทั้ง 7 เมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี ยะหริ่ง ยะลา รามันห์ สายบุรี ระแงะ และหนองจิก รวมเป็นมณฑล
เรียกว่ามณฑลปัตตานี ต่อมาวังซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการปกครองก็เปลี่ยนสภาพไปกลายเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของบุตรหลานและบรรดาญาติๆ
สืบต่อมาถึงปัจจุบัน
วังพิพิธภักดี
วังพิพิธภักดีตั้งอยู่ตรงข้ามกับวังสายบุรี สืบเนื่องจากพระพิพิธภักดี ได้มาหลงรักหลานสาวพระยาสุริยสุนทรรบวรภักดีบุตรชายของเจ้าเมืองยะหริ่ง
ต่อมาเมื่อพระพิพิธภักดีได้แต่งงานกับหลานสาวพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี จึงได้สร้างวังพิพิธภักดีเป็นเรือนหออยู่ใกล้ๆ กับวังสายบุรีนั่นเอง
วังพิพิธภักดี เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ช่างท้องถิ่นเป็นผู้สร้างโดยนำศิลปะแบบตะวันตกและศิลปะของท้องถิ่นมาผสมผสานกันคือ มีหน้ามุขแบบตะวันตก
ลูกกรงบันไดเป็นลายปูนปั้นรูปดอกไม้ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือ ผนังกั้นห้องภายในอาคารเป็นผนังโค้งอิทธิพลศิลปะตะวันตก มีช่องลมเป็นลวดลาย
พรรณพฤกษาอิทธิพลศิลปะชวา ปัจจุบัน วังพิพิภักดียังคงมีสภาพสมบูรณ์ โดยได้มีการดูแลตกแต่งวังหลังนี้ให้คงอยู่ในสภาพเดิม
วังพิพิธภักดีจึงเป็น วังอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ที่คงความงดงามอย่างสมบูรณ์แบบในปัจจุบัน
วังยะหริ่ง
วังยะหริ่งสร้างโดยพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม ในปี พ.ศ. 2438 ตั้งอยู่หมู่ที่ 1ตำบลยามู ในเขตสุขาภิบาลยามู อำเภอยะหริ่ง
จังหวัดปัตตานี ลักษณะรูปทรงของวังเป็นอาคาร 2 ชั้น ครึ่งปูนครึ่งไม้ แบบเรือนไทยมุสลิมผสมกับแบบบ้านแถบยุโรป ตัววังเป็นรูปตัวยู (U)
ชั้นบนภายในอาคารจัดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ด้านข้างของตัวอาคารทั้ง 2 ด้าน เป็นห้องสำหรับพักผ่อนของเจ้าเมืองและบุตรธิดาข้างละ 4 ห้อง
ชั้นล่างเป็นลานโล่งแบบใต้ถุนบ้าน

ลักษณะเด่นของบ้านคือ บันไดโค้งแบบยุโรป ช่องแสงประดับด้วยกระจกสีเขียว แดง และน้ำเงิน ช่องระบายอากาศและหน้าจั่วทำด้วยไม้ ฉลุเป็น
ลวดลายพรรณพฤกษา ตามแบบศิลปะชวา และศิลปะแบบตะวันตก ทำให้ตัววังสง่างามมาก ในปัจจุบันวังยะหริ่งได้รับการดูแลจากเจ้าของวังเป็น
อย่างดี โดยมีการบูรณะครั้งหลังสุดเมื่อปลายปี พ.ศ. 2541 ปัจจุบันมีสภาพสมบูรณ์
วังสายบุรี
วังสายบุรีตั้งอยู่เลขที่ 34 ถนนกลาพอ ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วังนี้สร้างโดยสถาปนิกชาวชวา และช่างท้องถิ่น เมือปี พ.ศ. 2428
ในสมัยพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี เจ้าเมืองสายบุรี ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลักษณะรูปทรงของวังสายบุรีเป็นอาคารไม้ทั้งหลังมี 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา เป็นเรือนไทยมุสลิมที่ไรับอิทธิพลมาจากศิลปกรรมของชวา ตัววังเป็นรูป
ตัวแอล (L) จากระยะเวลาอันนาวนานทำให้ตัววังทรุดโทรมลง ไม่ได้มีการซ่อมแซมทำให้ชั้นบนไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยลักษณะเด่นของวังสายบุรี
คือพื้นไม้ทำด้วยไม้ตะเคียนปูพื้นเป็นเส้นทแยงมุมมีแกนกลางตีเน้นเป็นฟันปลา ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง สำหรับช่องระบายอากาศ นิยมฉลุไม้เป็นลวดลาย
พรรณพฤกษาตามแบบศิลปะชวา นอกจากนี้เชิายตกแต่งโดยใช้ทองเหลืองฉลุโปร่งด้วยลวดลายพรรณพฤกษาตามแบบศิลปะชวา
วังหนองจิก
วังหนองจิกตั้งอยู่ที่บ้านตุยง ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก เจ้าเมืองหนองจิกคนสุดท้าย คือ พระยาเพชราภิบาลนฤเบศร์วาปีเขตมุจลินท์นฤบดินทร์
สวามิภักดิ์ (พ่วง ณ สงขลา ) เป็นผู้อยู่อาศัยในวังนี้ ประวัติการก่อสร้างสันนิษฐานว่าอาจสร้างมาตั้งแต่เจ้าเมืองหนองจิกคนก่อน (ทัด ณสงขลา)
ก่อนปี พ.ศ.2437 ตัววังที่เหลืออยู่ประกอบด้วยอาคารบริวาร 2 หลังเป็นอาคารชั้นเดียว แต่ยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร สำหรับอาคารที่เป็นตัววังนั้น
ถูกรื้อถอนไปในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา วังหนองจิกล้อมรอบด้วยกำแพงวัง แถบซุ้มประตูแบบสถาปัตยกรรมจีนภายในบริเวณวังมีบ่อน้ำ
แผ่นอิฐปูพื้นขนาด 1*1 ฟุต สภาพยังสมบูรณ์ ส่วนอาคารบริวารที่เหลืออยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก กรมศิลปากรมีโครงการบูรณะในปีงบประมาณ
2543

แหล่งที่มา: คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2543. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกสารและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
TOP

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เกลือหวานแห่งปัตตานี


เกลือสมุทร

ซึ่งมีการผลิตมากในแถบจังหวัดชายทะเลฝั่งอ่าวไทย เช่น สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ชลบุรี เพชรบุรี ถูกนำมาใช้ทั้งในการบริโภค และอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตคลอรีน โรงงานผลิตโซดาไฟและโซเดียมคาร์บอเนต เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมแก้ว ใยสังเคราะห์ สบู่ ผงซักฟอก โรงงานทำกระจก-กระเบื้องเคลือบ แต่เมื่อมีการค้นพบเกลือสินเธาว์ ซึ่งอยู่ใต้ดินในแถบอีสานในปริมาณมาก เกลือสมุทรก็คลายความสำคัญลง
"ในแง่อุตสาหกรรม เกลือสมุทรมีความบริสุทธิ์สู้เกลือสินเธาว์ไม่ได้ เนื่องจากมีแร่ธาตุและสารปนเปื้อนอยู่หลายชนิด โรงงานต่าง ๆ จึงหันมาใช้เกลือสินเธาว์กันหมด ไม่ว่าราคาจะถูกหรือแพงก็ตาม"
กระบวนการผลิตเกลือทะเลทั้งสองชนิดนี้ แตกต่างกันตรงที่ เกลือสมุทรได้จากการสูบน้ำทะเลเข้ามาขังไว้ในที่นา ตากแดดและลมจนน้ำระเหยไป เหลือเป็นผลึกเกลือสีขาว

การทำนาเกลือ

การทำนาเกลือโดยทั่วไป

การเตรียมพื้นที่ทำเกลือ พอฝนท้ายฤดูจะผ่านไปในราวกลางเดือนตุลาคม ของทุกๆปี ชาวนาเกลือจะเริ่มปิดกั้นน้ำฝนที่ขังอยู่ในนาเพื่อไว้ใช้ขุดรอกร่องนาและเสริมคันดินใหม่เพื่อให้คันดินสูงขึ้นสำหรับใส่น้ำเกลือในปีต่อไป การทำคันดินเพื่อขังน้ำไว้ทำเกลือนี้ ชาวนาเกลือจะใช้เครื่องมือชนิดหนึ่งเรียกว่า "รั่ว" ทำด้วยไม้ซึ่งชาวนาเกลือส่วนมากทำใช้กันเอง รั่ว มีลักษณะคล้ายคันไถ ใบรั่วมีส่วนกว้างประมาณ 10-12 นิ้วยาว 20-25 นิ้ว มีด้ามถือเหมือนรูปคันไถ ด้ามใช้ไม้กลมๆ ผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ใบรั่วตัดแบบหน้ากระดานปาดเป็นคมมีดสำหรับขุดดินแบบไถนาแต่พอบางๆ แล้วช้อนเอาดินขึ้นมาทำคันนา การขุดดินทำคันนานี้ ชาวนาเกลือเรียกว่า "เจื่อนนา" เจื่อนจากนาปลงไปจนถึงนาตากน้ำคันดินที่ชาวนาใช้รั่วขุดดินทำคันนี้จะเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ตะปุ่มตะป่ำเหมือนใช้พลั่วเหล็กขุดคันนา เพราะใบรั่วที่ชาวนาสร้างขึ้นเองจะตกแต่งคันนาได้ดียิ่ง หมาะแก่การทำคันดินนาเกลือโดยแท้

ในระยะที่ชาวนาเตรียมทำพื้นที่นาเกลือนี้ ก็จะทำการขุดรอกรางส่งน้ำจากนาเกลือถึงชายทะเลด้วย เพื่อเอาน้ำทะเลมาใช้ทำเกลือ ลำรางส่งน้ำจากชายทะเลถคงนาเกลือมีระยะทางยาวประมาณ 4กิโลเมตร ชาวนาเกลือต้องจ้างกรรมการที่รับจ้างขุดลอกลำรางเป็นเงินประมาณ 2,000 บาท ซึ่งต้องจ้างขุดลอกทุกๆ ปี การเตรียมพื้นที่ทำเกลือและขุดลอกลำรางส่งน้ำกว่าจะแล้วเสร็จต้องใช้เวลาประมาณ 30 วัน และเมื่อเตรียมพื้นที่ทำเกลือขุดลอกลำรางส่งน้ำแล้วในราวกลางเดือนพฤศจิกายน ชาวนาเกลือก็จะทำการติดตั้งอุปกรณ์ในการทำเกลือ เช่น ระหัดวิดน้ำ พัดลม เครื่องยนต์วิดน้ำ และอุปกรณ์อื่นๆ อีก

เมื่อติดตั้งอุปกรณ์สำหรับทำเกลือแล้ว ชาวนาก็เริ่มวิดน้ำจากรางส่งน้ำขึ้นวังเป็นอันดับแรก เมื่อวิดน้ำเข้าวังได้เต็มวังแล้วก็ไขน้ำจากวังเข้านาประเทียบ (นาตากน้ำ) จากนาประเทียบไขเข้านารองเชื้อจากนารองเชื้อไขเข้านาเชื้อ จากนาเชื้อไขเข้านาปลง การไขน้ำเข้าแช่นาทุกๆ ไร่นี้ชาวนาเกลือเรียกว่า "ลาดนา" เมื่อลาดนาทุกๆไรแล้ว ในระยะนี้ชาวนาจะได้พักผ่อนประมาณ 10-15 วัน ถึงแม้จะออกนาบ้างก็เพียงแต่คอยดูระหัดวิดน้ำด้วยพัดลมล้าง ด้วยเครื่องยนต์บ้าง ซึ่งต้องวิดน้ำขึ้นวังอยู่เรื่อยๆ และคอยเติมน้ำที่ลาดนาไว้ให้ได้ระดับอยู่เสมอเพื่อไว้ใช้ในกาลต่อไป เมื่อลาดนาได้ประมาณ 15 วันแล้ว ชาวนาก็จะเริ่มไขน้ำออก ชาวนาเกลือเรียกว่า "ถอดนา" การถอนนานี้ชาวนาจะต้องถอดนาเชื้อก่อนแล้วปล่อยทิ้งตากแดดไว้ประมาณ 3-4 วัน เมื่อท้องนาถูกแดดเผาพอเท้าเหยียบดิน ดินไม่คิดเท้าแล้วก็เอาลูกกลิ้งมากลิ้งนาที่ถอดไว้แล้วนั้นจนทั่วนา 2 ครั้ง ชาวนาเกลือเรียกว่า "หลบ" 2 ครั้งก็คือ 2 หลบ แล้วเอาน้ำจากนาปลงไร่ที่ 1 ใส่แช่ แล้วก็กลิ้งไร่ที่ 1 สองหลบเช่นเดียวกัน ไขน้ำไร่ที่ 2 ใส่แช่ กลิ้งไร่ที่ 3 ใส่ กลิ้งไร่ที่ 3 ไขน้ำไร่ที่ 4 ใส่ กลิ้งไร่ที่ 4 ไขน้ำไร่ที่ 5 ใส่ กลิ้งไร่ที่ 5 ไขน้ำไร่ที่ 6 ใส่ กลิ้งไร่ที่ 6 เอาน้ำไร่ที่ 1 มาใส่อีกทำอยู่เช่นนี้ประมาณ 3 รอบ นาเชื้อไร่ที่ 6 ที่กลิ้งก่อนก็จะเริ่มตกผลึกเป็นอันดับแรก นาไร่ที่ 6 นี้จึงได้ชื่อว่านาเชื้อเพราะเป็นเกลือขึ้นก่อนนาทั้งหลาย

เมื่อนาเชื้อไร่ที่ 6 ตกผลึกเป้นเกลือแล้วชาวนาเกลือก็จะกลิ้งไร่ที่ 1 เป็นรอบที่ 4 ในการกลิ้งรอที่ 4 นี้ชาวนาเกลือเรียกว่า "กลิ้งกวดท้อง" การกลิ้งกวดท้องนี้จะต้องกลิ้งประมาณ 10 หลบขึ้นไป และเมื่อเห็นว่าท้องนาแข็งได้ที่ตามความต้องการแล้วก็ไขน้ำออกจากไร่ที่ 2 ใส่ไร่ที่ 1 ชาวนาเกลือกเรียกว่า "ปลงนา" และไร่ที่ 2-3-4 ก็ทำเช่นเดียวกับไร่ที่ 1 ไปตามลำดับ วิธีทำอย่างนี้เป็นกรรมวิธีชนิดหนึ่งของการทำเกลือ ในระยะที่ปลงนาปล่อยให้เกลือตกผลึกอยู่นี้ ชาวนาก็จะคอยเติมน้ำเกลือจากนาเชื้อไม่ให้นาปลงแห้งน้ำได้ผลึก เกลือในนาปลงก็จะค่อยๆ เกาะตัวกันหนาขึ้นเรื่อยๆ เกาะตัวกันหนาขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลา รอจนได้ระยะเวลาประมาณ 20 วันหรือกว่านั้น ชาวนาก็จะเก็บผลผลิตของผลึกเกลือ การเก็บผลึกเกลือนี้ชาวนาเรียกว่า "รื้อนา" กรรมวิธีของการเก็บผลึกเกลือหรือรื้อนาเอาผลึกเกลือเข้าเก็บในฉางหรือยุ้งเกลือนี้ จะใช้เครื่องมือซึ่งทำขึ้นเอง มี รั่วซอย ไม้รุนเกลือ ทับทา ลักษณะของรั่วซอยคล้ายกับรั่วขุดดินทำคันนาแต่เล็กกว่าลักษณะของไม้รุนเกลือใช้ไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่งกว้างประมาณ 6 นิ้ว หนาประมาณ 1 นิ้วเศษ ยาวประมาณ 50 ซม.เจาะรูตรงกลางใส่ด้ามถือ ด้ามจะเป็นไม้อะไรก็ได้ยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ส่วนลักษณะของทับทารูปร่างคล้ายจอบพันดิน ต่างกับจอบที่ทับทาทำด้วยไม้ยางและไม้เนื้อแข็ง ส่วนกว้างประมาณ 12 นิ้ว หนา 1 นิ้ว ยาวประมาณ 85 ซม. เจาะรูตรงกลาง ใช้ไม้รวกลำงามๆ 3 เมตร เศษทำเป็นด้าม ทางเกลือตกผลึกหนาประมาณ 2 ซม. ขึ้นไป ชาวนาก็ทำรั่วซอยเกลือโดยให้ผลึกเกลือแตกออกจากกันจนทั่วนาแล้ว ก็ใช้ทับทาซึ่งมีลักษณะคล้ายจอบขนาดยักษ์นำมาชักผลึกเกลือให้เป็นแถวยาวไปตามคันนาส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วก็ใช้ทับทาซุ่ม (ตะล่อมเกลือ) ให้เป็นกองๆ เกลือ 1 ไร่ เมื่อตะล่อมเป็นลูกเกลือแล้วมีจำนวนประมาณ 100 ลูกขึ้นไป อันนี้ก็ไม่แน่เสมอไป แล้วแต่เกลือจะตกผลึกหนาบางซึ่งจำนวนก็ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมดา

สถานที่ที่เหมาะสมแก่การทำนาเกลือ คือ พื้นที่ราบริมทะเล ที่น้ำทะเลสามารถขึ้นได้ในช่วงเดือนข้างขึ้นตลอดปี โดยเฉพาะจังหวัดที่มีริมทะเล เพราะดินเป็นดินเหนียว นาเกลือมี 2 ลักษณะตามสภาพพื้นที่ คือ ถ้าเป็นพื้นที่กว้างแนวตรงก็ทำ "นายืน" แต่ถ้าพื้นที่คดเคี้ยวไม่ตรงก็จะทำ "นาวน" สลับไปมา แต่นาเกลือทั้งสองประเภทจะต้องมีส่วนประกอบหลัก 5 ส่วน คือ

วังน้ำ เป็นแปลงที่เก็บกักน้ำทะเลที่ชักเข้ามา เรียกว่า "น้ำอ่อน" เก็บไว้ใช้ตลอดฤดูกาลทำนาเกลือ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่หมดฤดูฝนราวปลายเดือนตุลาคม จากนั้นน้ำอ่อนจะไหลไปตามช่องหูนา (ช่องน้ำไหลระหว่างอัน) เข้าสู่ "นาตาก"

"นาตาก" หรือ "นาประเทียบ" เพื่อตากแดดให้น้ำระเหยออกไป ความเค็มจึงเข้มข้นขึ้น ทุกๆ วัน น้ำจะเดินทางไปเรื่อยๆ โดยมีกระแสลมช่วยให้น้ำไหลยัก (การยักน้ำ คือ ร่องที่ทำไว้ให้น้ำไหลไปตามทิศทางที่กำหนด) ลงนาตากอันต่อไป

"นารองเชื้อ" น้ำที่ไหลมาถึงนารองเชื้อจะเข้มข้นพอสมควร จากนั้นจะตากน้ำให้ได้ความเค็มที่ 15 ดีกรี ซึ่งปัจจุบันใช้เครื่องมือวัด แต่เดิมใช้การสังเกตว่ามีคราบน้ำมันสีสนิมหรือ "รกน้ำ" จับอยู่ที่ริมบ่อหรือไม่ จากนั้นจะระบายน้ำเข้าไปใน "นาเชื้อ"

"นาเชื้อ" เป็นนาสำหรับเพาะเชื้อเกลือ ซึ่งต้องรอให้เป็น "น้ำแก่" ดีกรีความเค็มสูงถึง 24 ดีกรี ระหว่างรอก็จะเตรียมปรับพื้นที่นาให้เรียบแน่นป้องกันไม่ให้ "นาย่น" คือ พื้นนาแยกเป็นรอยร้าว น้ำจืดแทรกขึ้นมาแทน เกิดอาการท้องคืน คือผิวดินด้านล่างบวมลอกเป็นแผ่น

"นาปลง" เป็นนาขั้นตอนสุดท้าย ตากน้ำเค็มไว้ประมาณ 10-15 วัน เมื่อเริ่มตกผลึกเป็นเกลือหนาประมาณ 1 นิ้ว ก็จะเริ่ม "รื้อเกลือ" โดยใช้ "คฑารื้อ" แซะให้เกลือแตกออกจากกันแล้วใช้ "คฑาแถว" ชักลากเกลือมากองรวมกันเป็นแถวๆ จากนั้นใช้ "คฑาสุ้ม" โกยเกลือมารวมเป็นกองๆ เหมือนเจดีย์ทราย เพื่อให้เกลือแห้งน้ำ จากนั้นจะหาบเกลือลงเรือบรรทุกล่องไปตาม "แพรก" หรือคลองซอยเล็กๆ แล้วหาบขึ้นไปเก็บไว้ในลานเกลือหรือฉางเกลือรอการจำหน่ายต่อไป

เกลือนับได้ว่าเป็นสารอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายจากธาตุไอโอดีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ ผู้คนตั้งแต่ยุคโบราณรู้จักนำเกลือมาบริโภค ปรุงรสอาหารต่างๆ ถนอมอาหารและอีกสารพัดวิธีการที่เกลือเข้าไปเกี่ยวข้อง นับเป็นคุณูปการที่ทั้งสิ้นต่อมนุษยชาติ
ทั้งนี้ต้องมีการบริโภคเกลือในปริมาณที่พอเหมาะ มนุษย์จึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากเกลือได้อย่างเต็มที่ ในเมืองไทยมีการทำนาเกลือเป็นอาชีพดั้งเดิมมาจนปัจจุบันอย่างในแถบภาคกลางเช่น สมุทรสงคราม สมุทรสาคร หากผ่านไปมาก่อนถึงกรุงเทพฯ จะสังเกตเห็นว่าสองข้างทางในแถบจังหวัดเหล่านี้มีกองเกลือและนาเกลือสุดลูกหูลูกตา

ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้นับตั้งแต่คอคอดกระมาจนถึงปลายแหลมมลายูจะไม่พบเห็นการทำนาเกลือนอกจากในจังหวัดปัตตานีเพียงแห่งเดียว กว่า 400 ปีที่นาเกลือในปัตตานีเป็นนาเกลือแห่งเดียวในภาคใต้และคาบสมุทรมลายู มีการทำนาเกลือมาตั้งแต่สมัยรายาฮีเยาเป็นเจ้าเมืองปัตตานี(พ.ศ.2127-2159) มีการขุดคลองจากเตอมางัน บ้านปรีกี อ.ยะรัง มายังบ้านกรือเซะ เป็นผลให้ปัตตานีได้รับน้ำจืดมาก นาข้าวได้ผลดีแต่ทำให้นาเกลือเสียหาย มีราษฎรร้องเรียน ในสมัยต่อมาคือ รายาบีรู (พ.ศ.2159-2167) ได้สั่งให้ปิดกั้นคลองดังกล่าวที่บ้านตาเนาะบาตู เพื่อควบคุมน้ำจืดเป็นผลให้นาเกลือได้กลับมารับผลดีเช่นเดิม การทำนาเกลือจึงรุ่งเรืองมาตั้งแต่นั้น นาเกลือปัตตานีจึงเป็นนาเกลือเพียงแห่งเดียวบนคาบสมุทรมลายู

ในเวลาร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เกลือเป็นสินค้าที่สำคัญของปัตตานี ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในด้านรสชาติที่กลมกล่อม ไม่มีรสชาติเค็มเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นความต่างจากเกลือที่อื่น ผู้บริโภคนิยมใช้เกลือปัตตานีทำน้ำบูดู ปลาตากแห้ง ดองผักผลไม้ ดองสะตอ ฯลฯ โดยเฉพาะการดองสะตอ หากใช้เกลือปัตตานีจะทำให้สะตอกรอบ ไม่เปื่อยยุ่ย รสชาติหวามมัน อร่อย ดังคำกล่าวที่มีมาแค่โบราณว่า ฆาแฆ ตานิง มานิสหมายความว่าเกลือปัตตานีหวาน

การทำนาเกลือนับเป็นอาชีพหนึ่งที่เป็นมรดกอารยธรรมที่สำคัญควรแก่การสนับสนุนและอนุรักษ์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ อาทิ เทคโนโลยีการทำนาเกลือตั้งแต่สมัยใช้แรงคนวิดน้ำเข้านาโดยใช้กาบหลาวชะโอน ใช้กังหันลมวิดน้ำเข้านาโดยใช้สายพาน จนกระทั่งการใช้เครื่องยนต์แทนกังหันลม
ริมถนนสายนราธิวาส-ปัตตานี ในท้องที่ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี เป็นถิ่นที่มีการทำนาเกลือมากที่สุด ตั้งแต่ริมถนนจนเกือบติดทะเล มองไปสุดลูกหูลูกตาจะเป็นท้องนาเกลือทั่วบริเวณเดือนกุมภาพันธ์-กรกฏาคม เป็นช่วงที่มีการทำนาเกลือตลอด สามารถแวะซื้อจากเกษตรกรริมนาได้โดยตรง
อับดุลวาฮับ ฮับ เป็นหนึ่งในหลายสิบคนที่ยึดอาชีพทำนาเกลือในดินแดนแห่งนี้ เขาหันมาทำนาเกลือกว่า 5 ปี ในพื้นที่ทำมาหากินที่เขาบอกว่า ประทังชีวิตไปได้อย่างพอเพียง

ที่ดินนาเกลือตรงนี้เรียกแต่ละแปลงว่า จ้อง แต่ละจ้องมีขนาดกว้างยาวไม่เท่ากัน ที่เห็นอยู่ประมาณเกือบร้อยจ้อง บางคนทำมาเป็นยี่สิบปี ผมเพิ่งมาทำอาชีพนี้ได้ 5 ปีกว่า มีท่านาอยู่นิดหน่อย การทำนาเกลือไม่ยาก อยู่ที่แสงงแดดและลมเป็นตัวกำหนด ส่วนดินที่เหมาะควรเป้นดินเหนียวเพราะอุ้มน้ำได้ดี

ทุกเช้าจะมีการผันน้ำจากทะเลด้วยเครื่องยนต์เข้ามาทางรูเล็กๆ ตามคันนา นาผืนไหนที่ต้องการจะกักน้ำไว้ก็จะปล่อยให้น้ำเต็มนาแล้วค่อยปล่อยไปยังผืนต่อไป พอผันน้ำเข้านามาในแต่ละผืน ขังไว้ประมาณ 5 วัน เต็มพื้นที่ของนา น้ำทำเลจะถูกเผาจากแสงแดดจนแห้งกลายเป็นเกลือ ถ้ากักน้ำไว้ขนาดความสูง 1 นิ้วใช้เวลา 5 วัน ถ้ากักไว้ ½ นิ้ว ใช้เวลา 3 วันในการทำให้เป็นเม็ดเกลือ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องระวัง หากมีฝนตกเกลือก็จะละลายหายไปหมด ช่วงนี้อับดุลวาฮับต้องมาดูทุกเช้าว่าเม็ดเกลือจะลอยขึ้นบนผิวน้ำหรืแปล่า ต้องคอยเขี่ยให้ตกลงไปอยู่ในน้ำไม่ให้ลอย ในช่วงบ่ายก็จะมาดูใหม่ ดูอย่างนี้จนกว่าจะเป็นเม็ดเกลือ

สิ่งที่ทำให้นาเกลือไม่ได้ผลคือน้ำจืดและน้ำฝน หากช่วงไหนฝนตกก็จะทำให้ทำนาเกลือไม่ได้เกลือเป็นเม็ด ช่วงนี้อับดุลวาฮับบอกว่า ต้องไปทำอาชีพอื่น ซึ่งในช่วงเวลาว่างของแต่ละวันจากการทำนาเกลือ เขาก็ไปรับจ้างในโรงงานทำหมากย่านนี้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

จริงๆ นาเกลือทำคนเดียวก็ได้ เป็นงานที่ไม่หนักสำหรับผมเพราะผมเคยเป็นลูกจ้างแบกเกลือมาก่อน วันหยุดมีลูกชายมาช่วยบ้าง วันธรรมดาก็ทำคนเดียวทุกวัน

เมื่อเกลือเริ่มเป็นเม็ดตามเวลา อับดุลวาฮับและเพื่อนๆ ก็จะกวาดเกลือในแต่ละผืนนามากองเป็นกองย่อมๆ แล้วตักใส่กระบุงหวายหาบไปกองไว้เป็นกองๆ บนดินแห้งอีกที ลูกค้าจะมาซื้อเกลือที่ริมนาริมถนนเป็นกันตัง (4 กระป๋องลิตรเท่ากับ 1 กันตัง) ขายกันกันตังละ 9 บาท

เกลือกองโตๆ อย่างนี้กองไว้ไม่ต้องมีคนเฝ้ารับรองไม่มีหาย ใครจะซื้อก็แวะมาซื้อกันได้ที่ริมถนนข้างนาเกลือ เมื่อไปถึงที่ต้องชิมดูรสชาติ เหมือนคำที่เขาบอกจริงๆ ว่า เกลือปัตตานีหวานเค็ม ไม่เค็มจัดเหมือนเกลือที่อื่น กลมกล่อมจนต้องชิมซ้ำ กองไว้เท่าไหร่ก็ขายได้หมด สิ่งที่อับดุลวาฮับบอกว่า ต้องการทำอาชีพนี้เพราะเป็นอาชีพที่มีคนทำน้อย ต้องการสืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ แต่ไม่รู้ว่าในอนาคตนาเกลือของปัตตานี จะมีคนสืบสานเจตนารมณ์มากน้อยแค่ไหน หากภูมิปัญญาเช่นนี้สูญหายไปนับว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง

ภาพหาบกระบุงเกลือหาดูได้ไม่ง่ายนักในวิถีปัจจุบัน การจะรักษาวิถีชีวิตเหล่านี้ไว้ต้องอยู่ที่จิตสำนึกของคนรุ่นหลัง เป็นการให้ความสำคัญต่อวิถีชีวิตและความเป็นไปที่ส่งผลโดยตรงต่อสังคมที่ควรพึงมีต่อความพอเพียงและการดำรงอยู่ของชีวิต



[บันทึกของวิศาล]
ความหลังครั้งวัยเด็ก

ใบยางร่วง ปลิดปลิวจากกิ่งก้านถูกลมพลิกพริ้ว ร่อนตามแรงร่วงลงสู่ผืนดิน ฤดูใบไม้ร่วง ของภาคใต้ถิ่นแดนด้ามขวานมาถึงอีกวาระ เหมือนธรรมดาทุกๆปี แต่ปีนี้ผิดจากปีอื่นๆตรงที่เหล่าญาติมิตร เพื่อนฝูงเสียชีวิตเหมือนใบไม้ร่วง อันเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบไฟใต้กำลังคุโชน บนลานวัดมีใบไม้แห้งเพิ่มปริมาณตามฤดูกาลไม่มีคนกวาด พระเถรเณรชีต่างอพยพหนี"สันกาลาคีรีทั้งลูก เปลี่ยนแปลงไป ปรากฎการณ์ของ สีเหลือง ส้ม แดงเถือกไปทั้งเทือกและสีเขียวก็จะมาพร้อมกับการผลิใบใหม่"ความใหม่สดชื่นของสีเขียวจึงทำให้แม่บ้านหลายๆบ้านหายออกจากหมู่บ้านทิ้งลูกตัวเล็กๆไว้ให้พ่อกับย่าช่วยกันเลี้ยงถึงหลายอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตรงนี้ ความร่มเย็นที่เคยมี ผู้ใหญ่กลับปล่อยให้เด็กเอาไม้ขีดมาเผาบ้านเล่น ไฟลามไปทั่วทุกหัวระแหงจนดับไม่ทัน ความร้อนรุ่มสุมอยู่ในกลางใจทุกผู้คน ต่างคนต่างก็ไม่ไว้ใจกัน ความเหมือนเดิมหายไปโดยสิ้นเชิง แต่สิ่งที่ไม่ได้หายไปคือ.... ความทรงจำ แห่งฤดูกาล...ฤดูร้อนมาถึง แสงแดดแผดเผาทุกสิ่งทุกอย่าง ลมพัดมาเพียงแผ่วเบาย่อมไม่อาจปลดปล่อยความร้อนรุ่มในวัยเด็ก คนที่มีชีวิตที่เกี่ยวพันกับต้นยางพารา ยามผลัดใบ ย่อมรื่นเริง นอกจากจะได้หยุดปิดเทอมยาวแล้ว นั่นก็หมายความว่าฤดูแห่งการท่องเที่ยว การละเล่นต่างๆมาถึงแล้ว เด็กรีบนอนแต่หัวค่ำเพื่อว่าพรุ่งนี้จะได้ตื่นมามีแรงเล่นกันตั้งแต่เช้า และอีกหลายคนเหมือนกันที่นอนไม่หลับ ด้วยความตื่นเต้น เผลอตื่นสายมาพรรคพวกอาจหายไปหมดแล้วในป่ายางมีลำห้วยไหลตัดเส้นฝ่ากลาง ไหลลงแปลงนาที่ลุ่มท้ายหมู่บ้าน ข้าวกำลังออกท้องน้ำแห้งขอด เหลือเพียงแอ่งน้ำขุ่นๆ เด็กๆยิ้มเผล่ วาดฝันจะจับปลาตัวโต ถึงแม้จะไม่เคยทำได้ก็ตาม พลางคิดว่าพรุ่งนี้ต้องไปชวนเพื่อนมาช่วยจับปลา”ลูกคลัก”ดีกว่า โดยวิธีของเด็กที่จับปลาลูกคลัก ในแอ่งเล็กๆภายในบิ้งนาเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเผลอๆอาจได้ปลาดุกปลาช่อนตัวโต แต่วิธีที่ง่ายนี้ก็ต้องระวังงูเห่าเจ้าถิ่น ที่มักเลื้อยมาจากป่ายาง มาหาปลากิน เจอกันเมื่อไหร่เด็กๆวิ่งกันเกรียวป่าข้าวราบ เรื่องที่สองที่ต้องระวังนักระวังหนาคือเจ้าของแปลงนา เพราะพวกเราเวลาจับลูกคลักมักจะเอาเท้าเหยียบต้นข้าวให้ราบเป็นวง เพื่อจะเอาเท้าวิดน้ำสาดโคลนขึ้นไปบนที่ดอน และปลามันจะแถกเดกลับลงน้ำเด็กๆก็ต้องรีบแย่งกันจับ พอสายๆรู้สึกท้องเริ่มหิวสิ่งที่อร่อยที่สุดคือการฉีกท้องข้าว เอานมข้าวที่กำลังจะแข็งกลายเป็นเม็ดข้าวมากินกัน คุณยายคุณตาเจ้าของแปลงนาพบเข้าเมื่อไหร่ ต้องโกรธเป็นฟืนเป็นไฟหน้าเขียวเหมือนหน้าแม่เลี้ยง เด็กคนไหนที่วิ่งไม่ทันก็จะถูกฉวยมือติดและโดนเฆี่ยนจนอ่วม เฆี่ยนไปด่าไป “ มันเบียน” “พ่อแม่มันไม่สั่งสอน” เจ็บตัวนั้นไม่เท่าไหร่เจ็บใจและอายเพื่อนนี่แหละที่เจ็บนัก พวกเราทำให้คุณตาคุณยายทุเลาความโกรธลงได้ก็คือการยอมรับผิด “ผมยอมแล้วครับ”..........”ผมผิดครับ”...ที่หลังผมไม่ทำแล้วครับ ..........แต่ในใจนั้นต่างกันสิ้นเชิง.......คิดตามประสาเด็กคือทีหลังจะวิดเสียให้ทั่วทั้งบิ้ง......ถอนต้นเสียให้ราบ.........พอท่านหายโกรธ ท่านก็มักจะถามว่าลูกบ้านไหน กินข้าวมาหรือยัง....เราคิดในใจว่าถามทำไมถ้ากินมาแล้วก็ไม่ต้องมาฉีกท้องข้าวยายกิน แต่คนแก่ก็มีเมตตากับหลาน เฆี่ยนเสร็จมีอะไรติดชายพกมาพอกินได้ก็จะเอาให้เด็กกินหมด......คนแก่เวลาเดินไปไหนมาไหนผลหมากรากไม้ที่มีอยู่สมบูรณ์ตามชายป่าจะนึกถึงลูกนึกถึงหลานเก็บใส่พกใส่ห่อไปฝาก.....ลูกนมแนวเอย....ลูกขลบเอย....ลูกหว้าเอยลูกนิลเอย .....นี่แหละความน่ารักของชนบทที่ทุกคนมีเมตตาช่วยกันสั่งช่วยกันสอน ช่วยกันอบรมบ่มนิสัยและพ่อแม่เด็กก็ไม่มีใครโกรธที่มาเฆี่ยนสอนลูกเมื่อทำผิด แถมจะเฆี่ยนซ้ำถ้ามารู้ทีหลังว่าไปซนพิเรนมา ปัญหาสังคมมันเลยไม่มี........เรื่องที่เกิดขึ้นเหล่านี้เด็กๆมักจะปิดเป็นความลับสุดยอด........แต่ก็ไม่วายพวกที่วิ่งได้ทันมักจะมาแอบดูหน้าสลอนเห็นแต่นัยน์ตาแววๆอยู่ตามกอข้าว..........แล้วเอาเรื่องที่ได้ยินมาล้อกัน.....จนพวกที่ถูกล้อทนไม่ได้ทะเลาะชกต่อยกัน เรื่องถึงผู้ใหญ่เลยถูกลงโทษเสียคนละหลายกระทง ว่าด้วยการลงโทษนอกจากการเฆี่ยนแล้ว การให้ทำงานเพิ่มก่อนไปเล่นก็เป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับพวกเรามาก
เย็นค่ำแล้ว เด็กบางคนยังไม่ยอมอาบน้ำ คราบโคลนยังเปรอะเปื้อนทั่วร่างกาย ตามง่ามนิ้วเท้า แผ่นหลัง หรือแม้กระทั่งในใบหู ด้วยนิสัยของเด็กอาการคร้านน้ำ เพียงล้างตัวลวกๆ นับเป็นอาบน้ำได้......ผู้ใหญ่มักจะถามซ้ำอยู่เสมอ.....เอ็งอาบน้ำแล้วยัง.....”อาบอะไรวะตัวเหมือนควายปลัก”....ตอนย่ำค่ำบ้านไหนมีเด็กมักจะได้ยินเสียงทะเลาะกันเรื่องอาบน้ำแทบทุกบ้านและก็จบลงที่เสียงร้องไห้พร้อมอาบน้ำใหม่ไปพร้อมๆกัน อาบน้ำเสร็จแล้วยังสะอื้นอยู่อีกแต่ก็ต้องเดินขึ้นเรือนไปให้แม่ตรวจดูความเรียบร้อยถึงจะทานข้าวได้ แต่ในสายตาแม่นั้นย่อมไม่พลาด แม่หันไปสบตากับพ่ออย่างรู้ทัน ก็เริ่มมีความรู้สึกว่าไม่ปกติกับเราซะแล้ว เผลอแป๊บเดียวพ่อจับมือเราไว้ถือไว้แน่น.......แม่ให้พี่สาวไปเอาน้ำมันมะพร้าวกับใยพดพร้าวชุบน้ำมันมะพร้าวกับใยพด ขยี้จนใยพดพร้าวอ่อนนุ่มแล้วขัดขี้ไคล ไปใหนก็ไม่ได้เพราะโดนพ่อจับไว้แน่น ร่ำร้องว่าอยากตาย น้ำตาใหลเป็นปี๊บ แต่ไม่เคยตายสักที มันเหมือนกับขาดอิสระภาพ ไม่ใช่เสียดายขี้ไคลในตัวที่อุตส่าห์เก็บหมักหมมไว้กับตัวมานาน หรือโดนรังแก แต่จริงๆแล้วเสียใจที่เสียรู้พ่อและเจ็บตรงกกหูเหมือนไข้ลูกหนูต่างหาก....เสียงร่ำไห้เริ่มคลายกลายเป็นเสียงสะอื้นเมื่อแม่บอกว่าจะเพิ่มค่าขนมให้อีกวันพรุ่งนี้ พร้อมให้รีบไปอาบน้ำเป็นรอบที่สามแม่ต้องตักน้ำในบ่อให้อาบมันอุ่นดี น้ำในตุ่มเริ่มจะเย็นเหมือนน้ำแข็งแล้ว.........น้ำตีหมาแรกที่แม่รดหัวให้มันปวดแสบปวดร้อน นั่นเพราะแม่ขัดหนักไปหน่อย เช้าอีกวันหลังจากที่ตื่นนอนแล้ว เริ่มรู้สึกเบาตัวอาจจะเป็นเพราะขี้ไคลหายไปเยอะ แหงนมองไปยังกิ่งยาง ใบยังหลุดร่วงต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด รู้สึกเวิ้งว้างอย่างบอกไม่ถูก กินข้าวเสร็จเพื่อนชวนไปตัดไม้ใผ่เพื่อเอามาทำ"ฉับโผง"เพราะว่าตอนที่เดินผ่านป่ายาง"ลูกพรา"เริ่มเขียวแล้ว กะว่าในตอนเย็นจะแบ่งทีมยิงกันให้มันไปเลย แม่บอกว่าให้ซักชุดนักเรียนเสียก่อน ห้ามสวมใส่ไปเล่นฉับโผง เพราะเวลาใส่ลูกพราจะต้องตีเข้าไปในฉับโผง กลัวยางลูกพราติดเสื้อ ซักเท่าไหร่ก็ไม่ออก ผ่านมาหลายร้อยปีแล้วยังไม่มีใครคิดผงซักฟอกที่ซัก"ลูกพรา"ออกสักที เป็นเรื่องที่แปลกมาก เคยซื้อเสื้อใหม่สีขาวแม่เตรียมเอาไว้ให้ใส่ไปเที่ยวงานชักพระเอามาใส่เล่นฉับโผงซะก่อนแล้วพาไปซักเอามาพับเก็บไว้ ตอนเอาออกมาใส่ไปเที่ยวงานชักพระเสื้อถูกยางพราลายเหมือนงูกะปะลายพรม ครั้งแรกนึกไม่ออกว่าโดนอะไรแต่ดูจากร่องรอยแล้วใช่เลย แผลโดนยิงจากฉับโผง ตรงกลางทึบ ด้านข้างกระจายเหมือนรูปฝนใหม่เคาะดิน(ไว้ต่อตอนหน้าเรื่องทำฉับโผง)

ฉับโผง.........ปืนแห่งพงไพร
ของเล่นที่พอหาได้ของพวกเราก็เกิดจากสิ่งที่หยิบฉวยได้ตามธรรมชาติ ตามฤดูกาล......ถึงฤดูกาลนี้ลูกพลากำลังออกลูก....ลูกกลมๆ....สีเขียวๆ.....เวลาสุกจะมีสีดำเหมือนขี้แพะ รสชาติของผลพลาตอนยังไม่สุกมีรสเปรี้ยวอมฝาด ถ้าสุกจะมีรสหวาน ผลสีเขียวเด็กๆจะเก็บมาเป็นกระสุนของกระบอกฉับโผงที่พวกเราช่วยกันประดิษฐ์ขึ้น ก่อนอื่นต้องรวมพวกกันเข้าไปตัดไม้ไผ่กันก่อน สำหรับไม้ไผ่ที่เราเลือกมาเป็นกระบอกฉับโผง จะคัดเอาเฉพาะไม้ไผ่ไทยเท่านั้น ไม้ไผ่ป่า ไม้ไผ่สีสุก จะใช้ไม่ได้ไม่ทนและขนาดรูกระบอกก็โตเกินไป พวกเราเลือกแขนงไม้ไผ่ไทยที่ได้ขนาดเท่าหัวแม่เท้า ความยาวประมาณสองคืบ เลือกเอาแขนงที่มีรูเล็กกว่าลูกพลานิดๆ เพราะเวลาอัดลูกพลาเข้าไปในกระบอกจะได้เกิดแรงดันอากาศ มันจะไม่มีลมรั่วออกซะก่อน เมื่อทุกคนเลือกไม้ไผ่ได้ตามต้องการแล้วต้องรีบกลับเพราะยุงชุมเหลือเกิน ยืนนิ่งๆนานๆไม่ได้ต้องโดนกัดเป็นผื่นทั้งตัวคันเหมือนลิง บางที่หมั่นไส้เพื่อนคนไหนที่มันชอบล้อเราบ่อยๆ เห็นยุงกัดเพื่อน ด้วยความปรารถนาดีแต่ก็คงจะหวังร้ายลึกๆก็ตบเสียสุดแรง ยุงก็เละคนก็ล้ม เสียงด่าทอดังขรม และเมื่อเดินกลับจากป่าไผ่ต่างคนต่างก็นิ่งเงียบ เดินตามหลังกันเป็นแถว คงจะคิดวางแบบแปลนปืนฉับโผงของตัวเองให้สวยที่สุด
แขนงไม้ไผ่ขนาดความยาวสองคืบจะถูกตัดแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นกระบอกอีกส่วนเป็นด้ามจับ ส่วนที่เป็นด้ามจะสั้นกว่าส่วนที่เป็นกระบอก แขนงไผ่ส่วนที่แตกใช้การไม่ได้จะถูกผ่าแบ่งออกเป็นสองสามซีก ผ่าแล้วก็เอามาเหลาให้กลมเท่ากับรูของกระบอกฉับโผง ไม้เหลานี้เรียกว่าไม้ดัน หรือไม้ดะ เอาไว้ดันลูกพลาที่ใช้เป็นกระสุนเข้าไปในกระบอกฉับโผง เ หลาพอกลมได้ที่ก็อัดลงไปในรูด้ามถือให้แน่น เวลาดันเข้าและชักออมาใส่กระสุนใหม่จะได้ไม่หลุด เอาไม้ดันมาวัดกับกระบอกฉับโผงอย่าให้ยาวเกินกว่ากระบอกเพราะจะดันกระสุนหลุดออกไปนอกกระบอก ไม้ดันจะต้องสั้นกว่ากระบอกประมาณข้อนิ้วชี้ ทำเสร็จบางคนก็เอาย่านลิเพารัดเอาไว้ตรงปากกระบอก และโคนกระบอกเผื่อเอาไว้เล่นได้นานๆไม่แตกง่าย
ตอนฝึกยิง...........มือขวากำด้ามมือซ้ายกำกระบอก หันไปในทิศที่ไม่มีเพื่อนยืนขวางอยู่
อัดลูกพลากระสุนลูกแรกเอาด้ามเคาะเข้าไปก่อน......จับด้ามเอาไม้ดันดันกระสุนให้ไปติดอยู่ที่ปลายกระบอกก่อนหนึ่งนัด แล้วอัดเพิ่มอีกหนึ่งนัดไม่ต้องรีบ...........เข้าที่......ระวัง........ยิง...เสียงดัง.....ปัง.....แพล็ด...............ของคนที่ดัง ปัง ก็จะหัวเราะอย่างร่าเริง ของคนที่ดังแพล็ด...ยิ้มอย่างเขินๆ เพื่อนๆบอกว่ากระสุนมันเล็ก ลมรั่วไม่เกิดแรงดันอากาศ เมื่อทุกอย่างพร้อม เด็กๆจะถูกแบ่งออกเป็นสองพวกด้วยวิธีการหยิบไม้สั้นไม้ยาว เพื่อความยุติธรรมในการเล่น และมาจับไม้สั้นไม้ยาวหนสองเพื่ออ้างความยุติธรรมอีกเพราะต่างคนต่างอิดออดไม่ยอมเป็นพวกโจร........พวกโจรในหนังกลางแปลงที่มาฉายขายยาในวัด พอตำรวจมาจะแพ้ตำรวจทุกที หนังขายยาถึงตอนจบก็จะเห็นตำรวจมา คนเฒ่าคนแก่ก็จะรีบเก็บเสื่อเก็บของไม่อย่างนั้นหนังจบก่อนมันจะมืดเก็บไม่เห็น พวกเราเด็กๆเลยต้องการเล่นเป็นตำรวจกันทั้งนั้นเพราะเป็นเพื่อนพระเอก ไม่เหมือนโจรที่ต้องเป็นเพื่อนตัวโกง คราวนี้ใครจับได้ไม้สั้นก็มาอ้างไม่ได้อีกแล้วว่าไม่อยากเป็นโจรเพราะเพื่อนๆจะไล่กลับบ้านไม่ให้เล่นอีก ไม้ยาวมันก็มีโกงเหมือนกันเพราะคนถือเป็นคนหยิบสุดท้าย มันเล่นกำเอาไว้จนเพื่อนมองไม่เห็นปลายไม้ เสียงโต้เถียงดังอึกทึกเมื่อมีการโกงเกิดขึ้น บางครั้งต้องหักไม้มาจับกันหลายรอบ เมื่อจัดพวกกันแล้วไม่มีข้อโต้เถียง เสียงไล่ยิงกันดังสนั่นป่ายาง
ใกล้เพลทุกอย่างก็เริ่มยุติท้องเริ่มหิว ทุกคนมารวมพลกันสำรวจร่องรอยการถูกยิงพร้อมเล่าตอนที่ตัวเองตื่นเต้น ทั้งๆที่เล่นด้วยกันแต่ก็เอามาโม้กันใหม่อย่างเมามันเหมือนคนเพิ่งพบกัน บางคนรอยถูกยิงขึ้นเป็นผื่นแดง บางคนมีรอยคราบน้ำตาน้ำมูกที่เช็ดกับมือเป็นคราบอยู่ข้างแก้มบ่นพึมพำว่า จะไปฟ้องพ่อว่ามึงยิงเฉียดตากู ทั้งๆ ที่ชันชีกันเอาไว้แล้วว่าห้ามยิงตรงส่วนใบหน้า ชันชี ของเด็กๆก็คือข้อตกลงกติกาที่สัญญากันเอาไว้ก่อนเล่น เสียงระฆังฉันเพลดังแว่วมาแต่ไกลทุกสิ่งที่โกรธกันก็ลืมกันหมด......... ต่างคนต่างก็วิ่งให้เร็วที่สุดเพื่อให้ถึงจุดหมายก่อนเพื่อน........ได้ยินไอ้ตัวเล็กตะโกนไล่หลังมาว่า ”อย่าแล่นทอดกันแหละ” การแล่นทอดก็คือการวิ่งทอดทิ้งเพื่อเอาไว้คนเดียวในสถานที่ ที่ดูว่าเปลี่ยว และน่ากลัวก็ยังงั้นแหละ

จะเล่าเรื่องหลวงตาติ่ง หลวงตาผู้มีเมตตาให้ฟังแต่ก็ตื่นเต้นเมื่อคุณพ่อบอกว่าคุณย่ามารับผมไปสงขลาสี่ห้าวันช่วงปิดเทอม
คุณย่านุ่งผ้าโจงกระเบนใส่เสื้อสีขาว คุณย่ารูปร่างผอมสูงเหมือนฝรั่งนัยน์ตาคม ผมหยิกแต่ผิวคล้ำ คุณย่ามาจากสงขลาด้วยรถไฟและจะรับผมกลับด้วยรถไฟ ผมตื่นเต้นมากๆเพราะอายุเจ็ดขวบแล้ว ยังไม่ได้ขี่รถไฟเลยทั้งคืนผมนอนไม่หลับ คิดถึงเรื่องรถไฟ คิดถึงต้องทิ้งเพื่อนไปอีกหลายวันซึ่งเรามีของเล่นที่เรายังไม่ได้เล่นอีกหลายอย่าง ต้องเล่นให้ได้ก่อนเปิดเทอมแต่ก็ตื่นเต้นกับเมืองสงขลาที่คุณย่ามีนิทานเล่าให้ผมฟังหลายๆเรื่อง เรื่อง หัวนายแรง และเรื่องเกาะหนูเกาะแมว เรื่องทะเลสาบ รู้สึกว่าเมืองสงขลามีอะไรที่มากมายจนเด็กๆอย่างผมจินตนาการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
นิทานเรื่องเกาะหนูเกาะแมวคุณย่าเล่าให้ฟังว่า
นานมาแล้วมีพ่อค้าจีนคนหนึ่งคุมเรือสำเภาจากเมืองจีนมาค้าขายที่เมืองสงขลาเมื่อขายสินค้าหมดแล้วจะซื้อสินค้าจากสงขลากลับไปเมืองจีนเป็นประจำ วันหนึ่งขณะที่เดินซื้อสินค้าอยู่นั้น พ่อค้าได้เห็นหมากับแมวคู่หนึ่งมีรูปร่างหน้าตาน่าเอ็นดู จึงขอซื้อพาลงเรือไปด้วย หมากับแมวเมื่ออยู่ในเรือนาน ๆ ก็เกิดความเบื่อหน่ายและอยากจะกลับไปอยู่บ้านที่สงขลา จึงปรึกษาหาวิธีการที่จะกลับบ้าน หมาได้บอกกับแมวว่าพ่อค้ามีดวงแก้ววิเศษที่ใครเกาะแล้วจะไม่จมน้ำ แมวจึงคิดที่จะได้แก้ววิเศษนั้นมาครอบครองจึงไปข่มขู่หนูให้ขโมยให้และอนุญาตให้หนูหนีขึ้นฝั่งไปด้วย ครั้นเรือกลับมาที่สงขลาอีกครั้งหนึ่ง หนูก็เข้าไปลอบเข้าไปลักดวงแก้ววิเศษของพ่อค้าโดยอมไว้ในปาก แล้วทั้งสาม ได้แก่ หมา แมว และหนู หนีลงจากเรือว่ายน้ำจะไปขึ้นฝั่งที่หน้าเมืองสงขลา ขณะที่ว่ายน้ำมาด้วยกัน หนูซึ่งว่ายน้ำนำหน้ามาก่อนก็นึกขึ้นได้ว่าดวงแก้วที่ตนอมไว้ในปากนั้นมีค่ามหาศาล เมื่อถึงฝั่งหมากับแมวคงแย่งเอาไป จึงคิดที่จะหนีหมากับแมวขึ้นฝั่งไปตามลำพัง ดวงแก้วจะได้เป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวตลอดไป แต่แมวที่ว่ายตามหลังมาก็คิดจะได้ดวงแก้วไว้ครอบครองเช่นกัน จึงว่ายน้ำตรงรี่เข้าไปหาหนู ฝ่ายหนูเห็นแมวตรงเข้ามาก็ตกใจกลัวแมวจะตะปบจึงว่ายหนีสุดแรงและไม่ทันระวังตัวดวงแก้ววิเศษที่อมไว้ในปากก็ตกลงจมหายไปในทะเล เมื่อดวงแก้ววิเศษจมน้ำไปทั้งหนูและแมวต่างหมดแรงไม่อาจว่ายน้ำต่อไปได้ สัตว์ทั้งสองจึงจมน้ำตายกลายเป็น "เกาะหนูเกาะแมว" อยู่ที่อ่าวหน้าเมืองสงขลา ส่วนหมาก็ตะเกียกตะกายว่ายน้ำไปจนถึงฝั่ง แต่ด้วยความเหน็ดเหนื่อยจึงขาดใจตายกลายเป็นหินเรียกว่า "เขาตังกวน" เป็นภูเขาตั้งอยู่ริมอ่าวสงขลา ส่วนดวงแก้ววิเศษที่หล่นจากปากหนูก็แตกแหลกละเอียดเป็นหาดทราย เรียกสถานที่นี้ว่า "หาดทรายแก้ว" ตั้งอยู่ทางเหนือของอ่าว เมื่อนิทานจบคุณย่าจะแถมขับเรื่องพระอภัยมณีเป็นบทกลอนเพราะๆให้ฟังจนผมหลับ
ก่อนนอนทุกคืนคุณย่าจะเล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังจนหลับทุกคืนและผมก็ไม่เคยเบื่อเมื่อคุณย่าเล่าให้ฟังเป็นรอบที่เท่าไหร่นับไม่ได้
เช้านี้คุณแม่ปลุกให้ลุกขึ้นจากที่นอนตั้งแต่นกบินหลาเริ่มคุยกันเพื่อจะไปให้ทันรถไฟ ซึ่งคุณย่าเรียกว่ารถพัทลุง คุณย่าซ้อนท้ายรถจักรยานของคุณพ่อ ผมนั่งเฉียงๆบนคานรถจักรยานกว่าจะถึงสถานีรถไฟโคกโพธิ์ คงมีอาการเจ็บก้นมากๆ เพราะตรงที่คานไม่มีอะไรรองก้นเลย อาศัยการขยับเมื่อเวลาเมื่อย พอถึงสถานีรถไฟคุณพ่อไปซื้อตั๋วตรงช่องที่มีพนักงานนั่งอยู่ ตั๋วจะเป็นกระดาษแข็งสี่เหลี่ยมเล็กๆสีหมากสุก สถานีโคกโพธิ์ถึงสถานีหาดใหญ่ราคาค่าโดยสารสองบาทห้าสิบสตางค์ ผมตัวเล็กไม่ต้องเสียค่าโดยสาร คุณย่าจะต้องไปลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่เพื่อจะต่อรถไฟอีกขบวนไปลงที่สงขลา ผมเข้าใจเลยว่าที่คุณย่าเรียกรถพัทลุงเพราะจุดหมายปลายทางของรถไฟอยู่ที่จังหวัดพัทลุง เพราะอีกขบวนนึง ที่จุดหมายปลายทางอยู่ที่สถานีรถไฟสงขลาคุณย่าจะเรียกรถสงขลา คุณแม่ไม่ให้ผมใส่เสื้อตัวใหม่ แต่จะเก็บเอาไว้ที่ห่อผ้าของคุณย่า แม่บอกว่าเดี๋ยวเสื้อตัวใหม่จะโดนสะเก็ดไฟจากไม้ฟืนหัวรถจักรเป็นรูหมด คุณแม่ยังห้ามอีกหลายอย่างตามความซนของผม ห้ามชะโงกออกไปนอกหน้าต่างเดี๋ยวสะพานรถไฟมันจะตีเอา ห้ามจับโน่นจับนี่จนผมจำไม่หมด เสียงหวูดรถไฟก่อนเข้าเทียบสถานีดังมาแต่ไกลหันไปดูเห็นควันไฟสีดำ ผสมกับไอน้ำมองเหมือนกับก้อนเมฆลอยลงมาเรี่ยติดดิน เสียงล้อบดรางดังอึกทึก ผมเดินถอนหลังอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวจนคุณพ่อต้องรั้งมือเอาไว้ คนแต่งชุดสีกากี ยืนถือธงแดงธงเขียวไว้ในมือพอรถไฟเข้ามาใกล้ถึงสถานีก็ยกธงแดงรถก็ค่อยๆชะลอลงเรื่อยๆ เมื่อรถจอดสนิทคุณพ่อก็ส่งผมขึ้นรถไฟพร้อมคุณย่า คุณย่าจูงมือผมหาที่นั่ง ได้ที่นั่งแล้วความตื่นเต้นของผมก็พอคลายลงไปบ้าง
ที่นั่งบนรถไฟเป็นเก้าอี้ไม้หันหน้าเข้าหากัน เก้าอี้ตัวที่หันหน้าไปทางหัวขบวนมีคนนั่งอยู่ก่อนแล้ว “ตนมาแต่ไหน” เสียงคุณย่าถามสมาชิกที่นั่งอยู่ก่อน ได้ความว่าเดินทางมาจากต้นทางสถานีรถไฟยะลา จะกลับไปเยี่ยมบรรพบุรุษที่จังหวัดพัทลุงมารับราชการอยู่ที่ยะลานานแล้วหลายปียังไม่ได้กลับไปเยี่ยมบ้าน เสียงคุณย่าคุยถามสารทุกข์สุกดิบกันอยู่พักหนึ่ง ผมไม่ได้ตั้งใจฟังเพราะมัวแต่สนใจบรรยากาศข้างทางที่ผ่านป่ายางสลับกับทุ่งนา จนรถไฟชะลอช้าลง คุณย่าบอกถึงสถานีรถไฟเทพาแล้ว ก่อนรถไฟจะหยุด คุณย่าแกะผ้าเช็ดหน้าออกและหยิบเงินใบละบาทออกมาสองใบ คุณย่าบอกจะซื้อข้าวแกง กินมื้อกลางวัน พอรถไฟจอดสนิทคุณย่าชะโงกหน้าออกไปนอกหน้าต่างสั่งซื้อข้าวแกงไก่และไก่ทอด แม่ค้าตักข้าวใส่กระทงราดน้ำแกงแถมด้วยไก่ทอดกระทงละชิ้น ท่าทางแม่ค้าคล่องแคล่วว่องไว ข้าวและแกงไม่มีหกเลอะเทอะเลย เมื่อรถไฟเคลื่อนขบวนออกจากสถานีคุณย่ายื่นกระทงข้าวแกงให้ผม “กินข้าวซะก่อนเดี๋ยวจะหิว อีกนานกว่าจะถึงสงขลา” คุณย่าบอก แต่ผมไม่ค่อยสนใจกับอาหารมื้อเที่ยงนี้เท่าไรเพราะตื่นเต้นกับบรรยากาศสองข้างทาง เมื่อรถไฟเลี้ยวทางโค้ง มองออกไปข้างนอกหน้าต่างขบวนรถไฟเห็นอีกาบินตามขบวนรถเป็นแถว ยังนึกสงสัยอยู่เลยว่าอีกาจะไปไหน ครู่หนึ่ง ก็หายสงสัยเมื่อเห็นผู้คนโยนกระทงข้าวพร้อมกระดูกไก่ออกนอกหน้าต่าง อีกานี่ช่างฉลาดหากิน สามารถพึ่งเศษอาหารที่เหลือจากขบวนรถไฟ............ บ่ายแก่ๆถึงสถานีรถไฟสงขลา รถไฟจากหาดใหญ่ไปสงขลาขบวนสั้นกว่าไปพัทลุง มีเพียงสองตู้เท่านั้นที่หัวรถจักรลากไปและเวลาวิ่งก็วิ่งช้าๆรับคนจากสถานีเล็กๆไปตลอดทาง”
บ้านคุณย่าเป็นบ้านทรงไทยหลังเล็กๆสองหลังปลูกไว้ติดกันมีชานนอกที่ไม่มีหลังคาเชื่อมต่อกันอยู่ติดรั้ววัดโพธิ์ทางด้านหลัง ถ้าจะมาจากทางด้านหน้าวัดโพธิ์ก็ต้องเข้าทางประตูวัดและไต่บันไดข้ามรั้ววัดไปลงตรงบันไดอีกด้านก็จะถึงบ้านคุณย่า บ้านของคุณย่ามีบ้านหลานๆล้อมรอบอยู่เป็นวงกลม เลยบ้านวงศาคณาญาติออกไปก็จะทะลุถนน ถ้าข้ามถนนออกไปก็จะถึงโรงเรียนอาชีวะเป็นโรงเรียนที่มีผู้หญิงมาเรียนกันเต็ม คนบ้านผมถ้าวัยขนาดนี้คงไม่ต้องมาเรียนหนังสือกัน น่าจะมีสามีมีลูกสามสี่คนแล้ว คนที่นี่เขาขยันเรียนหนังสือกันจัง ในใจผมคิด
บรรยากาศยามบ่าย ลมเย็นพัดผ่านต้องผิวกายจนรู้สึกได้ถึงกลิ่นอายของทะเล คุณย่าบอกว่าเดินจนไปสุดถนนก็จะถึงทะเล ผมมองจนสุดตาก็ยังไม่เห็นทะเล แต่ความรู้สึกรับรู้ได้จากลมเย็นที่พัดผ่านมา ว่ามันคงจะผ่านน้ำมาก่อน มันแตกต่างจากที่บ้านผมลมที่พัดผ่านท้องทุ่งมาก่อน กลิ่นของรวงข้าวกับกลิ่นของทะเลมันต่างกัน ได้ยินเสียงย่าเรียก “อ้ายลุ่น” “อ้ายลุ่น” อยู่พักใหญ่ ก็ไม่มีใครขานตอบ.....ย่าจึงเดินไปที่บ้านอีกหลังและสั่งพ่อของอ้ายลุ่นเอาไว้ว่า พรุ่งนี้เช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ให้อ้ายลุ่นปั่นสามล้อพาหลานไปเที่ยวชายทะเลด้วย อย่าลืมบอกนะ ย่ายังสำทับเอาไว้อีกครั้ง “ผมไม่ลืมครับยายเหี้ยง” เสียงพ่ออ้ายลุ่นตกปากรับคำ ทำไมคนปั่นสามล้อจึงชื่อแปลกๆ ผมถามตัวเอง เพราะที่บ้านผมคนปั่นสามล้อชื่อก็แปลก ชื่อ “นายโฮ้ย” นายอำเภอเคยย้ำถามว่า คนที่ปั่นสามล้อรับจ้างประจำสถานีรถไฟโคกโพธิ์ ชื่ออะไร.... ชื่อโฮ้ยครับ คนอะไรชื่อโฮ้ย นายอำเภอเรียกเสียงหัวเราะจากชาวบ้านได้ ตอนที่พาหมออนามัยมาฉีดวัคซีนชาวบ้าน
บรรยากาศใกล้ค่ำของสงขลาไม่ได้ช่วยให้การจากบ้านเป็นครั้งแรกของผมดีขึ้นเลย กลับกลายเป็นความรู้สึกเหงาๆเศร้าสร้อยบอกไม่ถูก ทั้งๆที่ตื่นเต้นกับไฟฟ้าที่สว่างไสวเป็นแนวไปตามท้องถนนซึ่งบ้านเราไม่มี มีแต่เพียงแสงตะเกียงริบหรี่มาจากบ้านใกล้เรือนเคียงคุณย่าเล่านิทานเรื่องพระอภัยมณีให้ฟัง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเริ่มจากตอนไหน เพราะคุณย่าจำตอนไหนได้ก็เอามาเล่า คืนนี้พอจับใจความได้ว่า ตอนห้ามทับเข้าตีเมืองลงกา เมื่อถึงตอนที่ไพเราะคุณย่าก็ขับเป็นบทเพลงให้ผมฟังว่า
“วิเวกหวีดกรีดเสียงสำเนียงสนั่น คนขยั้นยืนขึงตะลึงหลง
ให้หวิววาบซาบทรวงลงง่วงงง ลืมณรงค์รบสู้เงี่ยหูฟัง
พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ว่าจากเรือนเหมือนนกมาจากรัง อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย”
“วิเวกแว่วแจ้วเสียงสำเนียงปี่ พวกโยธีทิ้งทวนชนวนเขนง
ลงนั่งโยกโงกหงับทับกันเอง เสนาะเพลงเพลินหลับระงับไป
จังหรีดหริ่งสิงห์สัตว์สงัดเงียบ เย็นระเยียบหย่อมหญ้าพฤกษาไสว
น้ำค้าพรมลมสงัดไม่กวัดไกว ทั้งเพลิงไฟโซมซาบไม่วาบวู”
คุณย่าขับขานกลับไปมาหลายเที่ยว ผมพลิกตัวนอนตะแคงหันหน้าเข้าหาฝาเรือน สะอื้นงักๆจนเคลิ้มหลับ มาสะดุ้งตื่นอีกทีเมื่อได้ยินเสียงเหมือนใครลากของหนักอยู่ใต้ถุนบ้าน.........(ตอนหน้าเล่าต่อ)

........สงสัยอยู่ว่าเป็นเสียงอะไรแต่ก็ไม่ได้ถามใครเพราะต้องรีบกุลีกุจอ ล้างหน้าแปรงฟัน น้ำก็ยังไม่ได้อาบรีบแต่งตัว ไปกับคณะสามล้อที่รอกันอยู่หน้าบ้าน สามล้อพ่วงข้างมีเก้าอี้หวายต่อเป็นระเบียงมาทางล้อพ่วงด่านซ้าย มีพื้นที่ขนาดผู้ใหญ่นั่งได้สองคน มีเบาะนุ่นปูเป็นพื้นนั่งสำหรับกันเจ็บก้น ด้านหลังคนปั่นมีที่นั่งเสริมอีกหนึ่งที่สำหรับเด็กพอนั่งได้ ส่วนที่ใช้บรรทุกของจะใช้ด้านหลังเบาะที่ลดระดับต่ำลงมาอีกหน่อยเกือบถึงดิน สามล้อบางคันจะมีร่มกระดาษสำหรับให้ผู้โดยสารกางหลบแดดเหน็บไว้ด้านหลังเบาะ ตรงไฟหน้าของจักรยานที่นำมาประกอบเป็นสามล้อจะมีรูปหล่อโลหะเป็นรูปคนกำลังวิ่งทะยานไปข้างหน้าเป็นตราสัญลักษณ์ของยี่ห้อจักรยาน ผมขอปั่นบ้างเพราะที่ปัตตานีก็มีสามล้อแบบนี้เหมือนกันแต่ไม่เคยได้ปั่น คิดว่าคงจะไม่ยากเพราะมีตั้งสามล้อ สองล้อคงจะปั่นยากกว่าแต่พอเอาเข้าจริง มันดันเลี้ยวซ้ายตลอดแถมมีทีท่าจะคว่ำเอาเสียง่าย ๆ น้าลุ่นบอกว่าถ้าปั่นไม่เป็นมันจะครอบเอาคนปั่นไปไว้ใต้รถ ไม่อยากอยู่ใต้รถเลยนั่งสบายๆดีกว่า มาถึงสมิหลาตรงนางเงือกอาทิตย์เริ่มทอแสงทะเลเงียบสงบ น้ำทะเลมองเห็นรางๆเหมือนแผ่นกระจก มองไปที่ทะเลตรงเส้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออกพระอาทิตย์ดวงโตกำลังแลบแสงขึ้นมาจากทะเล ช่างสวยงามเหลือเกิน เหมือนหัวแหวน สีแสดเปล่งแสงวาว นับหนึ่งยังไม่ถึงสามร้อยพระอาทิตย์โผล่ขึ้นมาทั้งดวง ไม่กล้าเพ่งมองอีกแล้วเพราะไม่สามารถทานแสงมันได้ วิ่งเล่นอยู่ชายหาดพักนึงก็ต้องรีบขึ้นมาเพราะถึงคิววัวชนมาออกกำลังกาย ไม่กล้าเดินสวนกับมันเพราะท่าทางมันดูคึกคะนอง เคยมีคนเลี้ยงที่ไม่ระวังตัวโดนวัวที่ตัวเองเลี้ยงขวิดจนไส้ไหลมาแล้ว พออาทิตย์ขึ้นสูงก็กลับถึงบ้านคุณย่าแต่ก็ยังสงสัยเรื่องเมื่อคืนอยู่ ถามย่าว่าเสียงอะไรดังเมื่อตอนใกล้รุ่ง ย่าบอกว่าเสียงบริษัทเจ๊กเก็บขี้มาถ่ายเอาอุจาระไปแล้วเปลี่ยนถังส้วมซึ่งเป็นถังไม้ให้ใหม่ ผมคิดถึงบ้านเราเวลาถ่ายที่ชายป่าแล้วต้องเอาจอบไปกลบเอง กับที่ในเมืองนี้ถ่ายแล้วไม่ต้องกลบ ผมเคยร้องเพลงที่คุณพ่อสอนพอจำได้ว่า ขี้แล้วโดดคือกบ ขี้แล้วกลบคือแมว ขี้แล้วแจวคือหมา หรือชาวสงขลาจะขี้แล้วแจว แต่พ่อก็เป็นชาวสงขลาคงจะไม่ร้องเพลงด่าบ้านตัวเอง

ย่ากลับมาส่งผมที่ปัตตานีเพราะโรงเรียนใกล้จะเปิดแล้ว ผมเรียนที่โรงเรียนเอกชนภายในตัวอำเภอ เมื่อก่อนเรียกว่าโรงเรียนราษฎร์ ส่วนเด็กลูกชาวบ้านโดยทั่วไปจะเข้าเรียนโรงเรียนหลวงซึ่งเรียกว่าโรงเรียนประชาบาล หรือโรงเรียนวัด โรงเรียนที่ผมเรียนมีตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมเจ็ด ผมไปเข้าเรียนเมื่ออายุเจ็ดขวบ ไม่ต้องเรียนชั้นอนุบาล เข้าเรียนชั้นประถมหนึ่งเลยเรียนอยู่สองปีได้เลื่อนชั้นไปอยู่ประถมปีที่สี่ สองปีผมเรียนสี่ชั้น เพราะว่าคุณพ่อสอนอ่าน เขียน คัด และคิดเลขให้ผมตั้งแต่ยังไม่เข้าเรียนเข้าไปเรียนได้สองปีผมมีความรู้เทียบเท่าชั้นประถมสี่แล้วครูบอกให้พาสชั้นได้เลย ตอนเด็กๆไม่เข้าใจว่าพาสชั้นคืออะไร รู้แต่ว่าผมมีเพื่อนซึ่งสามารถเรียกอ้ายโน่น อ้ายนี่ได้ตั้งแต่ประถมหนึ่งถึงสี่ วิ่งเข้าวิ่งออกไปเล่นกับเพื่อนได้ทั้งสี่ชั้น วันที่ผมซึ้งใจที่สุดคือวันที่เพื่อนๆซึ่งเรียนอยู่โรงเรียนวัดหนีเรียนเดินลัดทุ่งข้ามคลองมาเยี่ยมผมถึงโรงเรียน ระยะทางที่เดินมาหลายกิโล สาเหตุเพราะกลับมาจากสงขลาแล้วผมไม่มีโอกาสได้ออกไปเล่นกับเพื่อนๆหลายวันแล้ว เพื่อนๆมายืนเกาะรั้วโรงเรียนหน้าสลอน มีนักเรียนที่วิ่งเล่นอยู่ในสนามหน้าโรงเรียนมาบอกว่ามีเพื่อมารออยู่หน้าโรงเรียน ผมรู้สึกเป็นงงว่าเพื่อนที่ไหนกันถึงได้มาเยี่ยม เมื่อออกไปดูรู้สึกสงสารเพื่อนที่บ้างก็เปียกน้ำมอมแมมเสื้อไม่ใส่ยืนเกาะรั้วโรงเรียนรอพบผมอยู่ ด้วยเพราะความคิดถึงจึงมาเยี่ยม เราทักทายคุยกันอยู่หลายคำต่างคนต่างแย่งกันพูดพอจับใจความได้ว่านัดหมายกันวันเสาร์ให้ผมเอาฟุตบอลหนังที่ซื้อมาใหม่จากสงขลาไปเตะกันที่วัด ผมตกลงและล้วงกระเป๋ากำลูกอมที่ซื้อไว้ตั้งแต่พักกลางวันยื่นให้เพื่อน คนโตรับเอาไปและลาจากกันบอกว่าต้องเดินกลับอีกไกลกลัวจะมืดคำ และถ้าฝนตกที่สันกาลาคีรีน้ำในคลองจะต้องสูงขึ้นกลัวว่าจะข้ามไม่ได้ ผมได้แต่ยืนมองตามหลังจนเพื่อนลับหายจากไป กลับมานั่งเรียนวิชาอ่านไทย ออกเสียงตามเพื่อนไปตลอดไม่มีกระจิตกระใจมองที่ตัวหนังสือเลย ก่อนเลิกเรียนท่องอาขยาน เจ้านกน้อยน่ารักร้องทักว่าไปไหนมาหนูเล็กเด็กทั้งหลาย จนถึงท่องสูตรคูณเสร็จ สวดมนตร์ไหว้พระเสร็จแล้วไปเข้าแถวยืนรอรถโรงเรียนส่งกลับบ้าน รถโรงเรียนยี่ห้อโตโยเปต เป็นรถกระบะไม้ ที่นั่งไม้สองข้างนั่งหันหน้าเข้าหากัน มีที่นั่งเสริมแถวกลางอีกหนึ่งแถวสำหรับเด็กตัวเล็กๆ มีบันไดขึ้นจากทางด้านหลัง และจะมีครูคอยคุมอยู่ที่นั่งท้ายสุดเพราะกลัวพวกเด็กซนจะหลุดออกมานอกรถ รถวิ่งช้าๆเพราะสภาพเก่ามากแล้ว ถ้าคนขับเหยียบคันเร่งมากควันจะออกมาดำและเครื่องจะสำลักน้ำมัน เด็กๆจะคอยส่งเสียงเชียร์เวลารถขึ้นเนินเพราะเหมือนคนแก่เดินต้องเอาใจช่วย รถมาส่งตามจุดรับส่งนักเรียน จุดที่ผมลงรถคือที่วัดเพราะครูมาส่งแล้วไม่ต้องคอยให้พ่อแม่เด็กมารับ ลงรถโรงเรียนแล้วถอดเสื้อเก็บกระเป๋าไว้ที่โคนต้นจำปาอาศัยเล่นในวัดก่อนที่คุณพ่อกลับจากงานจะมารับ อันดับแรกต้องไปที่กุฎิหลวงตาก่อน ไปดูว่ามีผลไม้ ขนมอะไรบ้างที่เหลือและหลวงตาเก็บไว้ให้ทาน กินพอมีแรงเล่นก็หาเรื่องเล่นสารพัด บางทีหลวงตาเฆี่ยนเอาก็มีเพราะไปฉีกจีวรพระฟั่นเชือกลูกข่างบ้าง ทำหางว่าวบ้าง สามเณรไล่เตะเอาก็มีเพราะชอบไปแหย่ และล้อเล่น มีสามเณรรูปหนึ่งชื่อสามเณรยวนเป็นเด็กจากบ้านป่ามาบวช พวกเราแต่งกลอนแล้วไปตะโกนล้อเรียกชื่อ เณรญวนกวนขี้ เณรยวนกวนขี้ สาเหตุเพราะเอาทุเรียนวัดไปกวน กวนทุเรียนแล้วไม่ยอมแบ่งให้พวกเด็กๆกิน สามเณรไล่เตะพวกเด็กไม่กลัวเพราะเณรวิ่งช้ากลัวสบงหลุด ถ้าวิ่งไล่ใกล้ๆจะทันพวกเราก็วิ่งออกนอกวัด เณรไม่กล้าไล่ตามเพราะยังไม่ได้ห่มจีวรออกนอกวัดไม่ได้ เณรจะด่าก็ไม่ได้เพราะเด็กๆตะโกนว่า เณรบาปหนาถ้าด่าเด็ก เณรบาปหนาถ้าด่าเด็ก หลวงตาบอกว่าพวกเราซนมากๆ มันเข้าวัดเมื่อไหร่หมาเห่ากันทั้งวัด แต่หลวงตาก็รักเอ็นดูพวกเราทุกคน ถ้าใครหายไปหลายวันหลวงตาจะถามหาอยู่ตลอดไม่สบายเป็นไข้หลวงตาทราบก็จะไปเยี่ยมถึงบ้าน เราทุกคนรักหลวงตา หลวงตาสั่งสอนอะไรเราจะฟังอย่างตั้งใจ ใช้งานอะไรเหนื่อยแสนเหนื่อยก็จะช่วยทำให้หลวงตา

ถึงเดือนหกเดือนเจ็ดพ่อแม่ผู้ปกครองนำลูกหลานมาฝากหลวงตาเพื่ออยู่เป็นโยมหน้าบวช เตรียมตัวบวช เพื่อจะได้อยู่เข้าพรรษาเมื่อเดือนแปด ในวัดก็คึกคักมีชีวิตชีวา สมาชิกใหม่เข้ามาร่วมชายคาวัดกันมากขึ้นหลวงตาก็ดูสดชื่นขึ้น เดิมวัดมีพระอยู่ไม่กี่รูป กุฎิที่เคยร้างกลับดูสะอาดขึ้นจากสมาชิกใหม่เข้ามาทำความสะอาดตกแต่งเพื่อจะใช้เป็นที่พำนักในช่วงจำพรรษา คนที่กำหนดวันบวชได้แล้วก็จัดงานเชิญญาติมิตรแขกเหรื่อ มีมหรสพมาแสดงให้ดู ทั้งหนังตะลุง มโนราห์ เพลงบอก ตามแต่ฐานะของเจ้าภาพ พวกเราเด็กๆตื่นเต้นกันใหญ่ ถ้าตรงกับวันหยุดเสาร์อาทิตย์ไม่ต้องไปโรงเรียนเราจะดูหนังตะลุงจนรุ่งเช้า อาศัยกินนอนอยู่ในวัด การเตรียมตัวของพวกเด็กเมื่อมีงานบวชและมีการรับมหรสพมาแสดง เด็กๆต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันในการที่จะหาเรื่องเล่นกันเบื่อ อันดับแรกคือการแบ่งพวกเล่นก่อนที่มหรสพจะแสดง เพราะหนังตะลุงจะเล่นตอนดึก พวกเด็กๆจะต้องแบ่งกลุ่มเล่นเอาไว้ล่วงหน้า กำหนดวิธีเล่นเอาไว้ล่วงหน้าจะได้ไม่เสียเวลา และจะไม่ง่วงนอนซะก่อนได้ดูหนังตะลุง วิธีเล่นส่วนมากจะเป็นการวิ่งออกกำลังเพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัว ตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ง่วง การวิ่งไล่จับใส่วง เป็นวิธีเล่นที่พวกเด็กชอบกันมากๆ จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มจับมาใส่เอาไว้ในวง กับกลุ่มหนี ข้อตกลงจะกำหนดพื้นที่ขอบเขตของการเล่นจะต้องไม่หนีออกนอกพื้นที่ตามที่กติกากำหนด ทุกคนเคารพกติกาถึงแม้นไม่มีใครเห็นแต่ทุกคนจะไม่ออกไปนอกเขต หรืออาจจะกลัวผีหลอกก็เป็นได้ เพราะมีกฎลงโทษอยู่ว่าถ้าใครออกนอกเขตให้ผีไล่ตาม ทุกคนกลัวจึงไม่มีใครกล้าผืน การแบ่งกลุ่มเอาไว้ล่วงหน้านี่ก็เป็นข้อสำคัญเพราะก่อนถึงวันงานก็จะมีการคุยเกทับกันถึงการได้อยู่กลุ่มใคร ใครเป็นหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้ากลุ่มจะพาลูกทีมรอดไม่รอดจะเป็นที่โจษขานกันในหมู่เด็ก พวกที่เหลือยังไม่ได้เข้ากลุ่มมี

โอกาสที่จะตัดสินใจเลือกที่จะไปอยู่กับใครตามที่ตนเองศรัทธา เรื่องที่สองที่ต้องมีการเตรียมเอาไว้คือเรื่องการกิน มันเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็กๆ ของกินมื้ออิ่มย่อมได้มาจากเจ้าภาพ แต่ข้อสำคัญผู้กล้าที่จะไปเอามาจากโรงครัวคือใคร พวกเราต้องสืบเอาไว้ว่าในกลุ่มเรามีใครที่เป็นญาติกับเจ้าภาพบ้างจะต้องมอบหมายเอาไว้ว่าต้องเอามาให้พอ จะต้องเอามาให้ได้ และจะต้องไม่ถูกด่าหรือนินทาตอนงานเลิก เพราะเรื่องนี้ถ้าเข้าหูคุณแม่เมื่อไหร่โดนเฆี่ยนสถานเดียวไม่มีข้อยกเว้น เพราะพ่อแม่ทุกคนสอนอยู่ตลอดว่าอย่าไปยุ่ง หรือไปกินของในงาน

บันทึกของวิ

[บันทึกของวิศาล]
ความหลังครั้งวัยเด็ก

ใบยางร่วง ปลิดปลิวจากกิ่งก้านถูกลมพลิกพริ้ว ร่อนตามแรงร่วงลงสู่ผืนดิน ฤดูใบไม้ร่วง ของภาคใต้ถิ่นแดนด้ามขวานมาถึงอีกวาระ เหมือนธรรมดาทุกๆปี แต่ปีนี้ผิดจากปีอื่นๆตรงที่เหล่าญาติมิตร เพื่อนฝูงเสียชีวิตเหมือนใบไม้ร่วง อันเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบไฟใต้กำลังคุโชน บนลานวัดมีใบไม้แห้งเพิ่มปริมาณตามฤดูกาลไม่มีคนกวาด พระเถรเณรชีต่างอพยพหนี"สันกาลาคีรีทั้งลูก เปลี่ยนแปลงไป ปรากฎการณ์ของ สีเหลือง ส้ม แดงเถือกไปทั้งเทือกและสีเขียวก็จะมาพร้อมกับการผลิใบใหม่"ความใหม่สดชื่นของสีเขียวจึงทำให้แม่บ้านหลายๆบ้านหายออกจากหมู่บ้านทิ้งลูกตัวเล็กๆไว้ให้พ่อกับย่าช่วยกันเลี้ยงถึงหลายอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตรงนี้ ความร่มเย็นที่เคยมี ผู้ใหญ่กลับปล่อยให้เด็กเอาไม้ขีดมาเผาบ้านเล่น ไฟลามไปทั่วทุกหัวระแหงจนดับไม่ทัน ความร้อนรุ่มสุมอยู่ในกลางใจทุกผู้คน ต่างคนต่างก็ไม่ไว้ใจกัน ความเหมือนเดิมหายไปโดยสิ้นเชิง แต่สิ่งที่ไม่ได้หายไปคือ.... ความทรงจำ แห่งฤดูกาล...ฤดูร้อนมาถึง แสงแดดแผดเผาทุกสิ่งทุกอย่าง ลมพัดมาเพียงแผ่วเบาย่อมไม่อาจปลดปล่อยความร้อนรุ่มในวัยเด็ก คนที่มีชีวิตที่เกี่ยวพันกับต้นยางพารา ยามผลัดใบ ย่อมรื่นเริง นอกจากจะได้หยุดปิดเทอมยาวแล้ว นั่นก็หมายความว่าฤดูแห่งการท่องเที่ยว การละเล่นต่างๆมาถึงแล้ว เด็กรีบนอนแต่หัวค่ำเพื่อว่าพรุ่งนี้จะได้ตื่นมามีแรงเล่นกันตั้งแต่เช้า และอีกหลายคนเหมือนกันที่นอนไม่หลับ ด้วยความตื่นเต้น เผลอตื่นสายมาพรรคพวกอาจหายไปหมดแล้วในป่ายางมีลำห้วยไหลตัดเส้นฝ่ากลาง ไหลลงแปลงนาที่ลุ่มท้ายหมู่บ้าน ข้าวกำลังออกท้องน้ำแห้งขอด เหลือเพียงแอ่งน้ำขุ่นๆ เด็กๆยิ้มเผล่ วาดฝันจะจับปลาตัวโต ถึงแม้จะไม่เคยทำได้ก็ตาม พลางคิดว่าพรุ่งนี้ต้องไปชวนเพื่อนมาช่วยจับปลา”ลูกคลัก”ดีกว่า โดยวิธีของเด็กที่จับปลาลูกคลัก ในแอ่งเล็กๆภายในบิ้งนาเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเผลอๆอาจได้ปลาดุกปลาช่อนตัวโต แต่วิธีที่ง่ายนี้ก็ต้องระวังงูเห่าเจ้าถิ่น ที่มักเลื้อยมาจากป่ายาง มาหาปลากิน เจอกันเมื่อไหร่เด็กๆวิ่งกันเกรียวป่าข้าวราบ เรื่องที่สองที่ต้องระวังนักระวังหนาคือเจ้าของแปลงนา เพราะพวกเราเวลาจับลูกคลักมักจะเอาเท้าเหยียบต้นข้าวให้ราบเป็นวง เพื่อจะเอาเท้าวิดน้ำสาดโคลนขึ้นไปบนที่ดอน และปลามันจะแถกเดกลับลงน้ำเด็กๆก็ต้องรีบแย่งกันจับ พอสายๆรู้สึกท้องเริ่มหิวสิ่งที่อร่อยที่สุดคือการฉีกท้องข้าว เอานมข้าวที่กำลังจะแข็งกลายเป็นเม็ดข้าวมากินกัน คุณยายคุณตาเจ้าของแปลงนาพบเข้าเมื่อไหร่ ต้องโกรธเป็นฟืนเป็นไฟหน้าเขียวเหมือนหน้าแม่เลี้ยง เด็กคนไหนที่วิ่งไม่ทันก็จะถูกฉวยมือติดและโดนเฆี่ยนจนอ่วม เฆี่ยนไปด่าไป “ มันเบียน” “พ่อแม่มันไม่สั่งสอน” เจ็บตัวนั้นไม่เท่าไหร่เจ็บใจและอายเพื่อนนี่แหละที่เจ็บนัก พวกเราทำให้คุณตาคุณยายทุเลาความโกรธลงได้ก็คือการยอมรับผิด “ผมยอมแล้วครับ”..........”ผมผิดครับ”...ที่หลังผมไม่ทำแล้วครับ ..........แต่ในใจนั้นต่างกันสิ้นเชิง.......คิดตามประสาเด็กคือทีหลังจะวิดเสียให้ทั่วทั้งบิ้ง......ถอนต้นเสียให้ราบ.........พอท่านหายโกรธ ท่านก็มักจะถามว่าลูกบ้านไหน กินข้าวมาหรือยัง....เราคิดในใจว่าถามทำไมถ้ากินมาแล้วก็ไม่ต้องมาฉีกท้องข้าวยายกิน แต่คนแก่ก็มีเมตตากับหลาน เฆี่ยนเสร็จมีอะไรติดชายพกมาพอกินได้ก็จะเอาให้เด็กกินหมด......คนแก่เวลาเดินไปไหนมาไหนผลหมากรากไม้ที่มีอยู่สมบูรณ์ตามชายป่าจะนึกถึงลูกนึกถึงหลานเก็บใส่พกใส่ห่อไปฝาก.....ลูกนมแนวเอย....ลูกขลบเอย....ลูกหว้าเอยลูกนิลเอย .....นี่แหละความน่ารักของชนบทที่ทุกคนมีเมตตาช่วยกันสั่งช่วยกันสอน ช่วยกันอบรมบ่มนิสัยและพ่อแม่เด็กก็ไม่มีใครโกรธที่มาเฆี่ยนสอนลูกเมื่อทำผิด แถมจะเฆี่ยนซ้ำถ้ามารู้ทีหลังว่าไปซนพิเรนมา ปัญหาสังคมมันเลยไม่มี........เรื่องที่เกิดขึ้นเหล่านี้เด็กๆมักจะปิดเป็นความลับสุดยอด........แต่ก็ไม่วายพวกที่วิ่งได้ทันมักจะมาแอบดูหน้าสลอนเห็นแต่นัยน์ตาแววๆอยู่ตามกอข้าว..........แล้วเอาเรื่องที่ได้ยินมาล้อกัน.....จนพวกที่ถูกล้อทนไม่ได้ทะเลาะชกต่อยกัน เรื่องถึงผู้ใหญ่เลยถูกลงโทษเสียคนละหลายกระทง ว่าด้วยการลงโทษนอกจากการเฆี่ยนแล้ว การให้ทำงานเพิ่มก่อนไปเล่นก็เป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับพวกเรามาก
เย็นค่ำแล้ว เด็กบางคนยังไม่ยอมอาบน้ำ คราบโคลนยังเปรอะเปื้อนทั่วร่างกาย ตามง่ามนิ้วเท้า แผ่นหลัง หรือแม้กระทั่งในใบหู ด้วยนิสัยของเด็กอาการคร้านน้ำ เพียงล้างตัวลวกๆ นับเป็นอาบน้ำได้......ผู้ใหญ่มักจะถามซ้ำอยู่เสมอ.....เอ็งอาบน้ำแล้วยัง.....”อาบอะไรวะตัวเหมือนควายปลัก”....ตอนย่ำค่ำบ้านไหนมีเด็กมักจะได้ยินเสียงทะเลาะกันเรื่องอาบน้ำแทบทุกบ้านและก็จบลงที่เสียงร้องไห้พร้อมอาบน้ำใหม่ไปพร้อมๆกัน อาบน้ำเสร็จแล้วยังสะอื้นอยู่อีกแต่ก็ต้องเดินขึ้นเรือนไปให้แม่ตรวจดูความเรียบร้อยถึงจะทานข้าวได้ แต่ในสายตาแม่นั้นย่อมไม่พลาด แม่หันไปสบตากับพ่ออย่างรู้ทัน ก็เริ่มมีความรู้สึกว่าไม่ปกติกับเราซะแล้ว เผลอแป๊บเดียวพ่อจับมือเราไว้ถือไว้แน่น.......แม่ให้พี่สาวไปเอาน้ำมันมะพร้าวกับใยพดพร้าวชุบน้ำมันมะพร้าวกับใยพด ขยี้จนใยพดพร้าวอ่อนนุ่มแล้วขัดขี้ไคล ไปใหนก็ไม่ได้เพราะโดนพ่อจับไว้แน่น ร่ำร้องว่าอยากตาย น้ำตาใหลเป็นปี๊บ แต่ไม่เคยตายสักที มันเหมือนกับขาดอิสระภาพ ไม่ใช่เสียดายขี้ไคลในตัวที่อุตส่าห์เก็บหมักหมมไว้กับตัวมานาน หรือโดนรังแก แต่จริงๆแล้วเสียใจที่เสียรู้พ่อและเจ็บตรงกกหูเหมือนไข้ลูกหนูต่างหาก....เสียงร่ำไห้เริ่มคลายกลายเป็นเสียงสะอื้นเมื่อแม่บอกว่าจะเพิ่มค่าขนมให้อีกวันพรุ่งนี้ พร้อมให้รีบไปอาบน้ำเป็นรอบที่สามแม่ต้องตักน้ำในบ่อให้อาบมันอุ่นดี น้ำในตุ่มเริ่มจะเย็นเหมือนน้ำแข็งแล้ว.........น้ำตีหมาแรกที่แม่รดหัวให้มันปวดแสบปวดร้อน นั่นเพราะแม่ขัดหนักไปหน่อย เช้าอีกวันหลังจากที่ตื่นนอนแล้ว เริ่มรู้สึกเบาตัวอาจจะเป็นเพราะขี้ไคลหายไปเยอะ แหงนมองไปยังกิ่งยาง ใบยังหลุดร่วงต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด รู้สึกเวิ้งว้างอย่างบอกไม่ถูก กินข้าวเสร็จเพื่อนชวนไปตัดไม้ใผ่เพื่อเอามาทำ"ฉับโผง"เพราะว่าตอนที่เดินผ่านป่ายาง"ลูกพรา"เริ่มเขียวแล้ว กะว่าในตอนเย็นจะแบ่งทีมยิงกันให้มันไปเลย แม่บอกว่าให้ซักชุดนักเรียนเสียก่อน ห้ามสวมใส่ไปเล่นฉับโผง เพราะเวลาใส่ลูกพราจะต้องตีเข้าไปในฉับโผง กลัวยางลูกพราติดเสื้อ ซักเท่าไหร่ก็ไม่ออก ผ่านมาหลายร้อยปีแล้วยังไม่มีใครคิดผงซักฟอกที่ซัก"ลูกพรา"ออกสักที เป็นเรื่องที่แปลกมาก เคยซื้อเสื้อใหม่สีขาวแม่เตรียมเอาไว้ให้ใส่ไปเที่ยวงานชักพระเอามาใส่เล่นฉับโผงซะก่อนแล้วพาไปซักเอามาพับเก็บไว้ ตอนเอาออกมาใส่ไปเที่ยวงานชักพระเสื้อถูกยางพราลายเหมือนงูกะปะลายพรม ครั้งแรกนึกไม่ออกว่าโดนอะไรแต่ดูจากร่องรอยแล้วใช่เลย แผลโดนยิงจากฉับโผง ตรงกลางทึบ ด้านข้างกระจายเหมือนรูปฝนใหม่เคาะดิน(ไว้ต่อตอนหน้าเรื่องทำฉับโผง)

ฉับโผง.........ปืนแห่งพงไพร
ของเล่นที่พอหาได้ของพวกเราก็เกิดจากสิ่งที่หยิบฉวยได้ตามธรรมชาติ ตามฤดูกาล......ถึงฤดูกาลนี้ลูกพลากำลังออกลูก....ลูกกลมๆ....สีเขียวๆ.....เวลาสุกจะมีสีดำเหมือนขี้แพะ รสชาติของผลพลาตอนยังไม่สุกมีรสเปรี้ยวอมฝาด ถ้าสุกจะมีรสหวาน ผลสีเขียวเด็กๆจะเก็บมาเป็นกระสุนของกระบอกฉับโผงที่พวกเราช่วยกันประดิษฐ์ขึ้น ก่อนอื่นต้องรวมพวกกันเข้าไปตัดไม้ไผ่กันก่อน สำหรับไม้ไผ่ที่เราเลือกมาเป็นกระบอกฉับโผง จะคัดเอาเฉพาะไม้ไผ่ไทยเท่านั้น ไม้ไผ่ป่า ไม้ไผ่สีสุก จะใช้ไม่ได้ไม่ทนและขนาดรูกระบอกก็โตเกินไป พวกเราเลือกแขนงไม้ไผ่ไทยที่ได้ขนาดเท่าหัวแม่เท้า ความยาวประมาณสองคืบ เลือกเอาแขนงที่มีรูเล็กกว่าลูกพลานิดๆ เพราะเวลาอัดลูกพลาเข้าไปในกระบอกจะได้เกิดแรงดันอากาศ มันจะไม่มีลมรั่วออกซะก่อน เมื่อทุกคนเลือกไม้ไผ่ได้ตามต้องการแล้วต้องรีบกลับเพราะยุงชุมเหลือเกิน ยืนนิ่งๆนานๆไม่ได้ต้องโดนกัดเป็นผื่นทั้งตัวคันเหมือนลิง บางที่หมั่นไส้เพื่อนคนไหนที่มันชอบล้อเราบ่อยๆ เห็นยุงกัดเพื่อน ด้วยความปรารถนาดีแต่ก็คงจะหวังร้ายลึกๆก็ตบเสียสุดแรง ยุงก็เละคนก็ล้ม เสียงด่าทอดังขรม และเมื่อเดินกลับจากป่าไผ่ต่างคนต่างก็นิ่งเงียบ เดินตามหลังกันเป็นแถว คงจะคิดวางแบบแปลนปืนฉับโผงของตัวเองให้สวยที่สุด
แขนงไม้ไผ่ขนาดความยาวสองคืบจะถูกตัดแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นกระบอกอีกส่วนเป็นด้ามจับ ส่วนที่เป็นด้ามจะสั้นกว่าส่วนที่เป็นกระบอก แขนงไผ่ส่วนที่แตกใช้การไม่ได้จะถูกผ่าแบ่งออกเป็นสองสามซีก ผ่าแล้วก็เอามาเหลาให้กลมเท่ากับรูของกระบอกฉับโผง ไม้เหลานี้เรียกว่าไม้ดัน หรือไม้ดะ เอาไว้ดันลูกพลาที่ใช้เป็นกระสุนเข้าไปในกระบอกฉับโผง เ หลาพอกลมได้ที่ก็อัดลงไปในรูด้ามถือให้แน่น เวลาดันเข้าและชักออมาใส่กระสุนใหม่จะได้ไม่หลุด เอาไม้ดันมาวัดกับกระบอกฉับโผงอย่าให้ยาวเกินกว่ากระบอกเพราะจะดันกระสุนหลุดออกไปนอกกระบอก ไม้ดันจะต้องสั้นกว่ากระบอกประมาณข้อนิ้วชี้ ทำเสร็จบางคนก็เอาย่านลิเพารัดเอาไว้ตรงปากกระบอก และโคนกระบอกเผื่อเอาไว้เล่นได้นานๆไม่แตกง่าย
ตอนฝึกยิง...........มือขวากำด้ามมือซ้ายกำกระบอก หันไปในทิศที่ไม่มีเพื่อนยืนขวางอยู่
อัดลูกพลากระสุนลูกแรกเอาด้ามเคาะเข้าไปก่อน......จับด้ามเอาไม้ดันดันกระสุนให้ไปติดอยู่ที่ปลายกระบอกก่อนหนึ่งนัด แล้วอัดเพิ่มอีกหนึ่งนัดไม่ต้องรีบ...........เข้าที่......ระวัง........ยิง...เสียงดัง.....ปัง.....แพล็ด...............ของคนที่ดัง ปัง ก็จะหัวเราะอย่างร่าเริง ของคนที่ดังแพล็ด...ยิ้มอย่างเขินๆ เพื่อนๆบอกว่ากระสุนมันเล็ก ลมรั่วไม่เกิดแรงดันอากาศ เมื่อทุกอย่างพร้อม เด็กๆจะถูกแบ่งออกเป็นสองพวกด้วยวิธีการหยิบไม้สั้นไม้ยาว เพื่อความยุติธรรมในการเล่น และมาจับไม้สั้นไม้ยาวหนสองเพื่ออ้างความยุติธรรมอีกเพราะต่างคนต่างอิดออดไม่ยอมเป็นพวกโจร........พวกโจรในหนังกลางแปลงที่มาฉายขายยาในวัด พอตำรวจมาจะแพ้ตำรวจทุกที หนังขายยาถึงตอนจบก็จะเห็นตำรวจมา คนเฒ่าคนแก่ก็จะรีบเก็บเสื่อเก็บของไม่อย่างนั้นหนังจบก่อนมันจะมืดเก็บไม่เห็น พวกเราเด็กๆเลยต้องการเล่นเป็นตำรวจกันทั้งนั้นเพราะเป็นเพื่อนพระเอก ไม่เหมือนโจรที่ต้องเป็นเพื่อนตัวโกง คราวนี้ใครจับได้ไม้สั้นก็มาอ้างไม่ได้อีกแล้วว่าไม่อยากเป็นโจรเพราะเพื่อนๆจะไล่กลับบ้านไม่ให้เล่นอีก ไม้ยาวมันก็มีโกงเหมือนกันเพราะคนถือเป็นคนหยิบสุดท้าย มันเล่นกำเอาไว้จนเพื่อนมองไม่เห็นปลายไม้ เสียงโต้เถียงดังอึกทึกเมื่อมีการโกงเกิดขึ้น บางครั้งต้องหักไม้มาจับกันหลายรอบ เมื่อจัดพวกกันแล้วไม่มีข้อโต้เถียง เสียงไล่ยิงกันดังสนั่นป่ายาง
ใกล้เพลทุกอย่างก็เริ่มยุติท้องเริ่มหิว ทุกคนมารวมพลกันสำรวจร่องรอยการถูกยิงพร้อมเล่าตอนที่ตัวเองตื่นเต้น ทั้งๆที่เล่นด้วยกันแต่ก็เอามาโม้กันใหม่อย่างเมามันเหมือนคนเพิ่งพบกัน บางคนรอยถูกยิงขึ้นเป็นผื่นแดง บางคนมีรอยคราบน้ำตาน้ำมูกที่เช็ดกับมือเป็นคราบอยู่ข้างแก้มบ่นพึมพำว่า จะไปฟ้องพ่อว่ามึงยิงเฉียดตากู ทั้งๆ ที่ชันชีกันเอาไว้แล้วว่าห้ามยิงตรงส่วนใบหน้า ชันชี ของเด็กๆก็คือข้อตกลงกติกาที่สัญญากันเอาไว้ก่อนเล่น เสียงระฆังฉันเพลดังแว่วมาแต่ไกลทุกสิ่งที่โกรธกันก็ลืมกันหมด......... ต่างคนต่างก็วิ่งให้เร็วที่สุดเพื่อให้ถึงจุดหมายก่อนเพื่อน........ได้ยินไอ้ตัวเล็กตะโกนไล่หลังมาว่า ”อย่าแล่นทอดกันแหละ” การแล่นทอดก็คือการวิ่งทอดทิ้งเพื่อเอาไว้คนเดียวในสถานที่ ที่ดูว่าเปลี่ยว และน่ากลัวก็ยังงั้นแหละ

จะเล่าเรื่องหลวงตาติ่ง หลวงตาผู้มีเมตตาให้ฟังแต่ก็ตื่นเต้นเมื่อคุณพ่อบอกว่าคุณย่ามารับผมไปสงขลาสี่ห้าวันช่วงปิดเทอม
คุณย่านุ่งผ้าโจงกระเบนใส่เสื้อสีขาว คุณย่ารูปร่างผอมสูงเหมือนฝรั่งนัยน์ตาคม ผมหยิกแต่ผิวคล้ำ คุณย่ามาจากสงขลาด้วยรถไฟและจะรับผมกลับด้วยรถไฟ ผมตื่นเต้นมากๆเพราะอายุเจ็ดขวบแล้ว ยังไม่ได้ขี่รถไฟเลยทั้งคืนผมนอนไม่หลับ คิดถึงเรื่องรถไฟ คิดถึงต้องทิ้งเพื่อนไปอีกหลายวันซึ่งเรามีของเล่นที่เรายังไม่ได้เล่นอีกหลายอย่าง ต้องเล่นให้ได้ก่อนเปิดเทอมแต่ก็ตื่นเต้นกับเมืองสงขลาที่คุณย่ามีนิทานเล่าให้ผมฟังหลายๆเรื่อง เรื่อง หัวนายแรง และเรื่องเกาะหนูเกาะแมว เรื่องทะเลสาบ รู้สึกว่าเมืองสงขลามีอะไรที่มากมายจนเด็กๆอย่างผมจินตนาการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
นิทานเรื่องเกาะหนูเกาะแมวคุณย่าเล่าให้ฟังว่า
นานมาแล้วมีพ่อค้าจีนคนหนึ่งคุมเรือสำเภาจากเมืองจีนมาค้าขายที่เมืองสงขลาเมื่อขายสินค้าหมดแล้วจะซื้อสินค้าจากสงขลากลับไปเมืองจีนเป็นประจำ วันหนึ่งขณะที่เดินซื้อสินค้าอยู่นั้น พ่อค้าได้เห็นหมากับแมวคู่หนึ่งมีรูปร่างหน้าตาน่าเอ็นดู จึงขอซื้อพาลงเรือไปด้วย หมากับแมวเมื่ออยู่ในเรือนาน ๆ ก็เกิดความเบื่อหน่ายและอยากจะกลับไปอยู่บ้านที่สงขลา จึงปรึกษาหาวิธีการที่จะกลับบ้าน หมาได้บอกกับแมวว่าพ่อค้ามีดวงแก้ววิเศษที่ใครเกาะแล้วจะไม่จมน้ำ แมวจึงคิดที่จะได้แก้ววิเศษนั้นมาครอบครองจึงไปข่มขู่หนูให้ขโมยให้และอนุญาตให้หนูหนีขึ้นฝั่งไปด้วย ครั้นเรือกลับมาที่สงขลาอีกครั้งหนึ่ง หนูก็เข้าไปลอบเข้าไปลักดวงแก้ววิเศษของพ่อค้าโดยอมไว้ในปาก แล้วทั้งสาม ได้แก่ หมา แมว และหนู หนีลงจากเรือว่ายน้ำจะไปขึ้นฝั่งที่หน้าเมืองสงขลา ขณะที่ว่ายน้ำมาด้วยกัน หนูซึ่งว่ายน้ำนำหน้ามาก่อนก็นึกขึ้นได้ว่าดวงแก้วที่ตนอมไว้ในปากนั้นมีค่ามหาศาล เมื่อถึงฝั่งหมากับแมวคงแย่งเอาไป จึงคิดที่จะหนีหมากับแมวขึ้นฝั่งไปตามลำพัง ดวงแก้วจะได้เป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวตลอดไป แต่แมวที่ว่ายตามหลังมาก็คิดจะได้ดวงแก้วไว้ครอบครองเช่นกัน จึงว่ายน้ำตรงรี่เข้าไปหาหนู ฝ่ายหนูเห็นแมวตรงเข้ามาก็ตกใจกลัวแมวจะตะปบจึงว่ายหนีสุดแรงและไม่ทันระวังตัวดวงแก้ววิเศษที่อมไว้ในปากก็ตกลงจมหายไปในทะเล เมื่อดวงแก้ววิเศษจมน้ำไปทั้งหนูและแมวต่างหมดแรงไม่อาจว่ายน้ำต่อไปได้ สัตว์ทั้งสองจึงจมน้ำตายกลายเป็น "เกาะหนูเกาะแมว" อยู่ที่อ่าวหน้าเมืองสงขลา ส่วนหมาก็ตะเกียกตะกายว่ายน้ำไปจนถึงฝั่ง แต่ด้วยความเหน็ดเหนื่อยจึงขาดใจตายกลายเป็นหินเรียกว่า "เขาตังกวน" เป็นภูเขาตั้งอยู่ริมอ่าวสงขลา ส่วนดวงแก้ววิเศษที่หล่นจากปากหนูก็แตกแหลกละเอียดเป็นหาดทราย เรียกสถานที่นี้ว่า "หาดทรายแก้ว" ตั้งอยู่ทางเหนือของอ่าว เมื่อนิทานจบคุณย่าจะแถมขับเรื่องพระอภัยมณีเป็นบทกลอนเพราะๆให้ฟังจนผมหลับ
ก่อนนอนทุกคืนคุณย่าจะเล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังจนหลับทุกคืนและผมก็ไม่เคยเบื่อเมื่อคุณย่าเล่าให้ฟังเป็นรอบที่เท่าไหร่นับไม่ได้
เช้านี้คุณแม่ปลุกให้ลุกขึ้นจากที่นอนตั้งแต่นกบินหลาเริ่มคุยกันเพื่อจะไปให้ทันรถไฟ ซึ่งคุณย่าเรียกว่ารถพัทลุง คุณย่าซ้อนท้ายรถจักรยานของคุณพ่อ ผมนั่งเฉียงๆบนคานรถจักรยานกว่าจะถึงสถานีรถไฟโคกโพธิ์ คงมีอาการเจ็บก้นมากๆ เพราะตรงที่คานไม่มีอะไรรองก้นเลย อาศัยการขยับเมื่อเวลาเมื่อย พอถึงสถานีรถไฟคุณพ่อไปซื้อตั๋วตรงช่องที่มีพนักงานนั่งอยู่ ตั๋วจะเป็นกระดาษแข็งสี่เหลี่ยมเล็กๆสีหมากสุก สถานีโคกโพธิ์ถึงสถานีหาดใหญ่ราคาค่าโดยสารสองบาทห้าสิบสตางค์ ผมตัวเล็กไม่ต้องเสียค่าโดยสาร คุณย่าจะต้องไปลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่เพื่อจะต่อรถไฟอีกขบวนไปลงที่สงขลา ผมเข้าใจเลยว่าที่คุณย่าเรียกรถพัทลุงเพราะจุดหมายปลายทางของรถไฟอยู่ที่จังหวัดพัทลุง เพราะอีกขบวนนึง ที่จุดหมายปลายทางอยู่ที่สถานีรถไฟสงขลาคุณย่าจะเรียกรถสงขลา คุณแม่ไม่ให้ผมใส่เสื้อตัวใหม่ แต่จะเก็บเอาไว้ที่ห่อผ้าของคุณย่า แม่บอกว่าเดี๋ยวเสื้อตัวใหม่จะโดนสะเก็ดไฟจากไม้ฟืนหัวรถจักรเป็นรูหมด คุณแม่ยังห้ามอีกหลายอย่างตามความซนของผม ห้ามชะโงกออกไปนอกหน้าต่างเดี๋ยวสะพานรถไฟมันจะตีเอา ห้ามจับโน่นจับนี่จนผมจำไม่หมด เสียงหวูดรถไฟก่อนเข้าเทียบสถานีดังมาแต่ไกลหันไปดูเห็นควันไฟสีดำ ผสมกับไอน้ำมองเหมือนกับก้อนเมฆลอยลงมาเรี่ยติดดิน เสียงล้อบดรางดังอึกทึก ผมเดินถอนหลังอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวจนคุณพ่อต้องรั้งมือเอาไว้ คนแต่งชุดสีกากี ยืนถือธงแดงธงเขียวไว้ในมือพอรถไฟเข้ามาใกล้ถึงสถานีก็ยกธงแดงรถก็ค่อยๆชะลอลงเรื่อยๆ เมื่อรถจอดสนิทคุณพ่อก็ส่งผมขึ้นรถไฟพร้อมคุณย่า คุณย่าจูงมือผมหาที่นั่ง ได้ที่นั่งแล้วความตื่นเต้นของผมก็พอคลายลงไปบ้าง
ที่นั่งบนรถไฟเป็นเก้าอี้ไม้หันหน้าเข้าหากัน เก้าอี้ตัวที่หันหน้าไปทางหัวขบวนมีคนนั่งอยู่ก่อนแล้ว “ตนมาแต่ไหน” เสียงคุณย่าถามสมาชิกที่นั่งอยู่ก่อน ได้ความว่าเดินทางมาจากต้นทางสถานีรถไฟยะลา จะกลับไปเยี่ยมบรรพบุรุษที่จังหวัดพัทลุงมารับราชการอยู่ที่ยะลานานแล้วหลายปียังไม่ได้กลับไปเยี่ยมบ้าน เสียงคุณย่าคุยถามสารทุกข์สุกดิบกันอยู่พักหนึ่ง ผมไม่ได้ตั้งใจฟังเพราะมัวแต่สนใจบรรยากาศข้างทางที่ผ่านป่ายางสลับกับทุ่งนา จนรถไฟชะลอช้าลง คุณย่าบอกถึงสถานีรถไฟเทพาแล้ว ก่อนรถไฟจะหยุด คุณย่าแกะผ้าเช็ดหน้าออกและหยิบเงินใบละบาทออกมาสองใบ คุณย่าบอกจะซื้อข้าวแกง กินมื้อกลางวัน พอรถไฟจอดสนิทคุณย่าชะโงกหน้าออกไปนอกหน้าต่างสั่งซื้อข้าวแกงไก่และไก่ทอด แม่ค้าตักข้าวใส่กระทงราดน้ำแกงแถมด้วยไก่ทอดกระทงละชิ้น ท่าทางแม่ค้าคล่องแคล่วว่องไว ข้าวและแกงไม่มีหกเลอะเทอะเลย เมื่อรถไฟเคลื่อนขบวนออกจากสถานีคุณย่ายื่นกระทงข้าวแกงให้ผม “กินข้าวซะก่อนเดี๋ยวจะหิว อีกนานกว่าจะถึงสงขลา” คุณย่าบอก แต่ผมไม่ค่อยสนใจกับอาหารมื้อเที่ยงนี้เท่าไรเพราะตื่นเต้นกับบรรยากาศสองข้างทาง เมื่อรถไฟเลี้ยวทางโค้ง มองออกไปข้างนอกหน้าต่างขบวนรถไฟเห็นอีกาบินตามขบวนรถเป็นแถว ยังนึกสงสัยอยู่เลยว่าอีกาจะไปไหน ครู่หนึ่ง ก็หายสงสัยเมื่อเห็นผู้คนโยนกระทงข้าวพร้อมกระดูกไก่ออกนอกหน้าต่าง อีกานี่ช่างฉลาดหากิน สามารถพึ่งเศษอาหารที่เหลือจากขบวนรถไฟ............ บ่ายแก่ๆถึงสถานีรถไฟสงขลา รถไฟจากหาดใหญ่ไปสงขลาขบวนสั้นกว่าไปพัทลุง มีเพียงสองตู้เท่านั้นที่หัวรถจักรลากไปและเวลาวิ่งก็วิ่งช้าๆรับคนจากสถานีเล็กๆไปตลอดทาง”
บ้านคุณย่าเป็นบ้านทรงไทยหลังเล็กๆสองหลังปลูกไว้ติดกันมีชานนอกที่ไม่มีหลังคาเชื่อมต่อกันอยู่ติดรั้ววัดโพธิ์ทางด้านหลัง ถ้าจะมาจากทางด้านหน้าวัดโพธิ์ก็ต้องเข้าทางประตูวัดและไต่บันไดข้ามรั้ววัดไปลงตรงบันไดอีกด้านก็จะถึงบ้านคุณย่า บ้านของคุณย่ามีบ้านหลานๆล้อมรอบอยู่เป็นวงกลม เลยบ้านวงศาคณาญาติออกไปก็จะทะลุถนน ถ้าข้ามถนนออกไปก็จะถึงโรงเรียนอาชีวะเป็นโรงเรียนที่มีผู้หญิงมาเรียนกันเต็ม คนบ้านผมถ้าวัยขนาดนี้คงไม่ต้องมาเรียนหนังสือกัน น่าจะมีสามีมีลูกสามสี่คนแล้ว คนที่นี่เขาขยันเรียนหนังสือกันจัง ในใจผมคิด
บรรยากาศยามบ่าย ลมเย็นพัดผ่านต้องผิวกายจนรู้สึกได้ถึงกลิ่นอายของทะเล คุณย่าบอกว่าเดินจนไปสุดถนนก็จะถึงทะเล ผมมองจนสุดตาก็ยังไม่เห็นทะเล แต่ความรู้สึกรับรู้ได้จากลมเย็นที่พัดผ่านมา ว่ามันคงจะผ่านน้ำมาก่อน มันแตกต่างจากที่บ้านผมลมที่พัดผ่านท้องทุ่งมาก่อน กลิ่นของรวงข้าวกับกลิ่นของทะเลมันต่างกัน ได้ยินเสียงย่าเรียก “อ้ายลุ่น” “อ้ายลุ่น” อยู่พักใหญ่ ก็ไม่มีใครขานตอบ.....ย่าจึงเดินไปที่บ้านอีกหลังและสั่งพ่อของอ้ายลุ่นเอาไว้ว่า พรุ่งนี้เช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ให้อ้ายลุ่นปั่นสามล้อพาหลานไปเที่ยวชายทะเลด้วย อย่าลืมบอกนะ ย่ายังสำทับเอาไว้อีกครั้ง “ผมไม่ลืมครับยายเหี้ยง” เสียงพ่ออ้ายลุ่นตกปากรับคำ ทำไมคนปั่นสามล้อจึงชื่อแปลกๆ ผมถามตัวเอง เพราะที่บ้านผมคนปั่นสามล้อชื่อก็แปลก ชื่อ “นายโฮ้ย” นายอำเภอเคยย้ำถามว่า คนที่ปั่นสามล้อรับจ้างประจำสถานีรถไฟโคกโพธิ์ ชื่ออะไร.... ชื่อโฮ้ยครับ คนอะไรชื่อโฮ้ย นายอำเภอเรียกเสียงหัวเราะจากชาวบ้านได้ ตอนที่พาหมออนามัยมาฉีดวัคซีนชาวบ้าน
บรรยากาศใกล้ค่ำของสงขลาไม่ได้ช่วยให้การจากบ้านเป็นครั้งแรกของผมดีขึ้นเลย กลับกลายเป็นความรู้สึกเหงาๆเศร้าสร้อยบอกไม่ถูก ทั้งๆที่ตื่นเต้นกับไฟฟ้าที่สว่างไสวเป็นแนวไปตามท้องถนนซึ่งบ้านเราไม่มี มีแต่เพียงแสงตะเกียงริบหรี่มาจากบ้านใกล้เรือนเคียงคุณย่าเล่านิทานเรื่องพระอภัยมณีให้ฟัง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเริ่มจากตอนไหน เพราะคุณย่าจำตอนไหนได้ก็เอามาเล่า คืนนี้พอจับใจความได้ว่า ตอนห้ามทับเข้าตีเมืองลงกา เมื่อถึงตอนที่ไพเราะคุณย่าก็ขับเป็นบทเพลงให้ผมฟังว่า
“วิเวกหวีดกรีดเสียงสำเนียงสนั่น คนขยั้นยืนขึงตะลึงหลง
ให้หวิววาบซาบทรวงลงง่วงงง ลืมณรงค์รบสู้เงี่ยหูฟัง
พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ว่าจากเรือนเหมือนนกมาจากรัง อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย”
“วิเวกแว่วแจ้วเสียงสำเนียงปี่ พวกโยธีทิ้งทวนชนวนเขนง
ลงนั่งโยกโงกหงับทับกันเอง เสนาะเพลงเพลินหลับระงับไป
จังหรีดหริ่งสิงห์สัตว์สงัดเงียบ เย็นระเยียบหย่อมหญ้าพฤกษาไสว
น้ำค้าพรมลมสงัดไม่กวัดไกว ทั้งเพลิงไฟโซมซาบไม่วาบวู”
คุณย่าขับขานกลับไปมาหลายเที่ยว ผมพลิกตัวนอนตะแคงหันหน้าเข้าหาฝาเรือน สะอื้นงักๆจนเคลิ้มหลับ มาสะดุ้งตื่นอีกทีเมื่อได้ยินเสียงเหมือนใครลากของหนักอยู่ใต้ถุนบ้าน.........(ตอนหน้าเล่าต่อ)

........สงสัยอยู่ว่าเป็นเสียงอะไรแต่ก็ไม่ได้ถามใครเพราะต้องรีบกุลีกุจอ ล้างหน้าแปรงฟัน น้ำก็ยังไม่ได้อาบรีบแต่งตัว ไปกับคณะสามล้อที่รอกันอยู่หน้าบ้าน สามล้อพ่วงข้างมีเก้าอี้หวายต่อเป็นระเบียงมาทางล้อพ่วงด่านซ้าย มีพื้นที่ขนาดผู้ใหญ่นั่งได้สองคน มีเบาะนุ่นปูเป็นพื้นนั่งสำหรับกันเจ็บก้น ด้านหลังคนปั่นมีที่นั่งเสริมอีกหนึ่งที่สำหรับเด็กพอนั่งได้ ส่วนที่ใช้บรรทุกของจะใช้ด้านหลังเบาะที่ลดระดับต่ำลงมาอีกหน่อยเกือบถึงดิน สามล้อบางคันจะมีร่มกระดาษสำหรับให้ผู้โดยสารกางหลบแดดเหน็บไว้ด้านหลังเบาะ ตรงไฟหน้าของจักรยานที่นำมาประกอบเป็นสามล้อจะมีรูปหล่อโลหะเป็นรูปคนกำลังวิ่งทะยานไปข้างหน้าเป็นตราสัญลักษณ์ของยี่ห้อจักรยาน ผมขอปั่นบ้างเพราะที่ปัตตานีก็มีสามล้อแบบนี้เหมือนกันแต่ไม่เคยได้ปั่น คิดว่าคงจะไม่ยากเพราะมีตั้งสามล้อ สองล้อคงจะปั่นยากกว่าแต่พอเอาเข้าจริง มันดันเลี้ยวซ้ายตลอดแถมมีทีท่าจะคว่ำเอาเสียง่าย ๆ น้าลุ่นบอกว่าถ้าปั่นไม่เป็นมันจะครอบเอาคนปั่นไปไว้ใต้รถ ไม่อยากอยู่ใต้รถเลยนั่งสบายๆดีกว่า มาถึงสมิหลาตรงนางเงือกอาทิตย์เริ่มทอแสงทะเลเงียบสงบ น้ำทะเลมองเห็นรางๆเหมือนแผ่นกระจก มองไปที่ทะเลตรงเส้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออกพระอาทิตย์ดวงโตกำลังแลบแสงขึ้นมาจากทะเล ช่างสวยงามเหลือเกิน เหมือนหัวแหวน สีแสดเปล่งแสงวาว นับหนึ่งยังไม่ถึงสามร้อยพระอาทิตย์โผล่ขึ้นมาทั้งดวง ไม่กล้าเพ่งมองอีกแล้วเพราะไม่สามารถทานแสงมันได้ วิ่งเล่นอยู่ชายหาดพักนึงก็ต้องรีบขึ้นมาเพราะถึงคิววัวชนมาออกกำลังกาย ไม่กล้าเดินสวนกับมันเพราะท่าทางมันดูคึกคะนอง เคยมีคนเลี้ยงที่ไม่ระวังตัวโดนวัวที่ตัวเองเลี้ยงขวิดจนไส้ไหลมาแล้ว พออาทิตย์ขึ้นสูงก็กลับถึงบ้านคุณย่าแต่ก็ยังสงสัยเรื่องเมื่อคืนอยู่ ถามย่าว่าเสียงอะไรดังเมื่อตอนใกล้รุ่ง ย่าบอกว่าเสียงบริษัทเจ๊กเก็บขี้มาถ่ายเอาอุจาระไปแล้วเปลี่ยนถังส้วมซึ่งเป็นถังไม้ให้ใหม่ ผมคิดถึงบ้านเราเวลาถ่ายที่ชายป่าแล้วต้องเอาจอบไปกลบเอง กับที่ในเมืองนี้ถ่ายแล้วไม่ต้องกลบ ผมเคยร้องเพลงที่คุณพ่อสอนพอจำได้ว่า ขี้แล้วโดดคือกบ ขี้แล้วกลบคือแมว ขี้แล้วแจวคือหมา หรือชาวสงขลาจะขี้แล้วแจว แต่พ่อก็เป็นชาวสงขลาคงจะไม่ร้องเพลงด่าบ้านตัวเอง

ย่ากลับมาส่งผมที่ปัตตานีเพราะโรงเรียนใกล้จะเปิดแล้ว ผมเรียนที่โรงเรียนเอกชนภายในตัวอำเภอ เมื่อก่อนเรียกว่าโรงเรียนราษฎร์ ส่วนเด็กลูกชาวบ้านโดยทั่วไปจะเข้าเรียนโรงเรียนหลวงซึ่งเรียกว่าโรงเรียนประชาบาล หรือโรงเรียนวัด โรงเรียนที่ผมเรียนมีตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมเจ็ด ผมไปเข้าเรียนเมื่ออายุเจ็ดขวบ ไม่ต้องเรียนชั้นอนุบาล เข้าเรียนชั้นประถมหนึ่งเลยเรียนอยู่สองปีได้เลื่อนชั้นไปอยู่ประถมปีที่สี่ สองปีผมเรียนสี่ชั้น เพราะว่าคุณพ่อสอนอ่าน เขียน คัด และคิดเลขให้ผมตั้งแต่ยังไม่เข้าเรียนเข้าไปเรียนได้สองปีผมมีความรู้เทียบเท่าชั้นประถมสี่แล้วครูบอกให้พาสชั้นได้เลย ตอนเด็กๆไม่เข้าใจว่าพาสชั้นคืออะไร รู้แต่ว่าผมมีเพื่อนซึ่งสามารถเรียกอ้ายโน่น อ้ายนี่ได้ตั้งแต่ประถมหนึ่งถึงสี่ วิ่งเข้าวิ่งออกไปเล่นกับเพื่อนได้ทั้งสี่ชั้น วันที่ผมซึ้งใจที่สุดคือวันที่เพื่อนๆซึ่งเรียนอยู่โรงเรียนวัดหนีเรียนเดินลัดทุ่งข้ามคลองมาเยี่ยมผมถึงโรงเรียน ระยะทางที่เดินมาหลายกิโล สาเหตุเพราะกลับมาจากสงขลาแล้วผมไม่มีโอกาสได้ออกไปเล่นกับเพื่อนๆหลายวันแล้ว เพื่อนๆมายืนเกาะรั้วโรงเรียนหน้าสลอน มีนักเรียนที่วิ่งเล่นอยู่ในสนามหน้าโรงเรียนมาบอกว่ามีเพื่อมารออยู่หน้าโรงเรียน ผมรู้สึกเป็นงงว่าเพื่อนที่ไหนกันถึงได้มาเยี่ยม เมื่อออกไปดูรู้สึกสงสารเพื่อนที่บ้างก็เปียกน้ำมอมแมมเสื้อไม่ใส่ยืนเกาะรั้วโรงเรียนรอพบผมอยู่ ด้วยเพราะความคิดถึงจึงมาเยี่ยม เราทักทายคุยกันอยู่หลายคำต่างคนต่างแย่งกันพูดพอจับใจความได้ว่านัดหมายกันวันเสาร์ให้ผมเอาฟุตบอลหนังที่ซื้อมาใหม่จากสงขลาไปเตะกันที่วัด ผมตกลงและล้วงกระเป๋ากำลูกอมที่ซื้อไว้ตั้งแต่พักกลางวันยื่นให้เพื่อน คนโตรับเอาไปและลาจากกันบอกว่าต้องเดินกลับอีกไกลกลัวจะมืดคำ และถ้าฝนตกที่สันกาลาคีรีน้ำในคลองจะต้องสูงขึ้นกลัวว่าจะข้ามไม่ได้ ผมได้แต่ยืนมองตามหลังจนเพื่อนลับหายจากไป กลับมานั่งเรียนวิชาอ่านไทย ออกเสียงตามเพื่อนไปตลอดไม่มีกระจิตกระใจมองที่ตัวหนังสือเลย ก่อนเลิกเรียนท่องอาขยาน เจ้านกน้อยน่ารักร้องทักว่าไปไหนมาหนูเล็กเด็กทั้งหลาย จนถึงท่องสูตรคูณเสร็จ สวดมนตร์ไหว้พระเสร็จแล้วไปเข้าแถวยืนรอรถโรงเรียนส่งกลับบ้าน รถโรงเรียนยี่ห้อโตโยเปต เป็นรถกระบะไม้ ที่นั่งไม้สองข้างนั่งหันหน้าเข้าหากัน มีที่นั่งเสริมแถวกลางอีกหนึ่งแถวสำหรับเด็กตัวเล็กๆ มีบันไดขึ้นจากทางด้านหลัง และจะมีครูคอยคุมอยู่ที่นั่งท้ายสุดเพราะกลัวพวกเด็กซนจะหลุดออกมานอกรถ รถวิ่งช้าๆเพราะสภาพเก่ามากแล้ว ถ้าคนขับเหยียบคันเร่งมากควันจะออกมาดำและเครื่องจะสำลักน้ำมัน เด็กๆจะคอยส่งเสียงเชียร์เวลารถขึ้นเนินเพราะเหมือนคนแก่เดินต้องเอาใจช่วย รถมาส่งตามจุดรับส่งนักเรียน จุดที่ผมลงรถคือที่วัดเพราะครูมาส่งแล้วไม่ต้องคอยให้พ่อแม่เด็กมารับ ลงรถโรงเรียนแล้วถอดเสื้อเก็บกระเป๋าไว้ที่โคนต้นจำปาอาศัยเล่นในวัดก่อนที่คุณพ่อกลับจากงานจะมารับ อันดับแรกต้องไปที่กุฎิหลวงตาก่อน ไปดูว่ามีผลไม้ ขนมอะไรบ้างที่เหลือและหลวงตาเก็บไว้ให้ทาน กินพอมีแรงเล่นก็หาเรื่องเล่นสารพัด บางทีหลวงตาเฆี่ยนเอาก็มีเพราะไปฉีกจีวรพระฟั่นเชือกลูกข่างบ้าง ทำหางว่าวบ้าง สามเณรไล่เตะเอาก็มีเพราะชอบไปแหย่ และล้อเล่น มีสามเณรรูปหนึ่งชื่อสามเณรยวนเป็นเด็กจากบ้านป่ามาบวช พวกเราแต่งกลอนแล้วไปตะโกนล้อเรียกชื่อ เณรญวนกวนขี้ เณรยวนกวนขี้ สาเหตุเพราะเอาทุเรียนวัดไปกวน กวนทุเรียนแล้วไม่ยอมแบ่งให้พวกเด็กๆกิน สามเณรไล่เตะพวกเด็กไม่กลัวเพราะเณรวิ่งช้ากลัวสบงหลุด ถ้าวิ่งไล่ใกล้ๆจะทันพวกเราก็วิ่งออกนอกวัด เณรไม่กล้าไล่ตามเพราะยังไม่ได้ห่มจีวรออกนอกวัดไม่ได้ เณรจะด่าก็ไม่ได้เพราะเด็กๆตะโกนว่า เณรบาปหนาถ้าด่าเด็ก เณรบาปหนาถ้าด่าเด็ก หลวงตาบอกว่าพวกเราซนมากๆ มันเข้าวัดเมื่อไหร่หมาเห่ากันทั้งวัด แต่หลวงตาก็รักเอ็นดูพวกเราทุกคน ถ้าใครหายไปหลายวันหลวงตาจะถามหาอยู่ตลอดไม่สบายเป็นไข้หลวงตาทราบก็จะไปเยี่ยมถึงบ้าน เราทุกคนรักหลวงตา หลวงตาสั่งสอนอะไรเราจะฟังอย่างตั้งใจ ใช้งานอะไรเหนื่อยแสนเหนื่อยก็จะช่วยทำให้หลวงตา

ถึงเดือนหกเดือนเจ็ดพ่อแม่ผู้ปกครองนำลูกหลานมาฝากหลวงตาเพื่ออยู่เป็นโยมหน้าบวช เตรียมตัวบวช เพื่อจะได้อยู่เข้าพรรษาเมื่อเดือนแปด ในวัดก็คึกคักมีชีวิตชีวา สมาชิกใหม่เข้ามาร่วมชายคาวัดกันมากขึ้นหลวงตาก็ดูสดชื่นขึ้น เดิมวัดมีพระอยู่ไม่กี่รูป กุฎิที่เคยร้างกลับดูสะอาดขึ้นจากสมาชิกใหม่เข้ามาทำความสะอาดตกแต่งเพื่อจะใช้เป็นที่พำนักในช่วงจำพรรษา คนที่กำหนดวันบวชได้แล้วก็จัดงานเชิญญาติมิตรแขกเหรื่อ มีมหรสพมาแสดงให้ดู ทั้งหนังตะลุง มโนราห์ เพลงบอก ตามแต่ฐานะของเจ้าภาพ พวกเราเด็กๆตื่นเต้นกันใหญ่ ถ้าตรงกับวันหยุดเสาร์อาทิตย์ไม่ต้องไปโรงเรียนเราจะดูหนังตะลุงจนรุ่งเช้า อาศัยกินนอนอยู่ในวัด การเตรียมตัวของพวกเด็กเมื่อมีงานบวชและมีการรับมหรสพมาแสดง เด็กๆต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันในการที่จะหาเรื่องเล่นกันเบื่อ อันดับแรกคือการแบ่งพวกเล่นก่อนที่มหรสพจะแสดง เพราะหนังตะลุงจะเล่นตอนดึก พวกเด็กๆจะต้องแบ่งกลุ่มเล่นเอาไว้ล่วงหน้า กำหนดวิธีเล่นเอาไว้ล่วงหน้าจะได้ไม่เสียเวลา และจะไม่ง่วงนอนซะก่อนได้ดูหนังตะลุง วิธีเล่นส่วนมากจะเป็นการวิ่งออกกำลังเพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัว ตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ง่วง การวิ่งไล่จับใส่วง เป็นวิธีเล่นที่พวกเด็กชอบกันมากๆ จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มจับมาใส่เอาไว้ในวง กับกลุ่มหนี ข้อตกลงจะกำหนดพื้นที่ขอบเขตของการเล่นจะต้องไม่หนีออกนอกพื้นที่ตามที่กติกากำหนด ทุกคนเคารพกติกาถึงแม้นไม่มีใครเห็นแต่ทุกคนจะไม่ออกไปนอกเขต หรืออาจจะกลัวผีหลอกก็เป็นได้ เพราะมีกฎลงโทษอยู่ว่าถ้าใครออกนอกเขตให้ผีไล่ตาม ทุกคนกลัวจึงไม่มีใครกล้าผืน การแบ่งกลุ่มเอาไว้ล่วงหน้านี่ก็เป็นข้อสำคัญเพราะก่อนถึงวันงานก็จะมีการคุยเกทับกันถึงการได้อยู่กลุ่มใคร ใครเป็นหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้ากลุ่มจะพาลูกทีมรอดไม่รอดจะเป็นที่โจษขานกันในหมู่เด็ก พวกที่เหลือยังไม่ได้เข้ากลุ่มมี

โอกาสที่จะตัดสินใจเลือกที่จะไปอยู่กับใครตามที่ตนเองศรัทธา เรื่องที่สองที่ต้องมีการเตรียมเอาไว้คือเรื่องการกิน มันเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็กๆ ของกินมื้ออิ่มย่อมได้มาจากเจ้าภาพ แต่ข้อสำคัญผู้กล้าที่จะไปเอามาจากโรงครัวคือใคร พวกเราต้องสืบเอาไว้ว่าในกลุ่มเรามีใครที่เป็นญาติกับเจ้าภาพบ้างจะต้องมอบหมายเอาไว้ว่าต้องเอามาให้พอ จะต้องเอามาให้ได้ และจะต้องไม่ถูกด่าหรือนินทาตอนงานเลิก เพราะเรื่องนี้ถ้าเข้าหูคุณแม่เมื่อไหร่โดนเฆี่ยนสถานเดียวไม่มีข้อยกเว้น เพราะพ่อแม่ทุกคนสอนอยู่ตลอดว่าอย่าไปยุ่ง หรือไปกินของในงาน เพราะเขาทำไว้เลี้ยงแขกเลี้ยงพระไปเบียนของเขาจะเป็นบาป

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
nongjik, pattani
ลีลาของฉัน ฉันขอลิขิต ตัวฉันเอง