วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วายัง คนเล่นกับเงา


1.ความเป็นมาของวายังนักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน3แนวทางคือกลุ่มแรก ยืนยันว่าวายังเป็นศิลปะการแสดงของท้องถิ่นชวามาแต่โบราณ มีกำเนิดบนเกาะชวาเนื่องมาจากประเพณีของคนท้องถิ่นซึ่งนับถือสิ่งศักด์สิทธิ์และบูชาบรรพบุรุษนั่นเอง หลักฐานที่ใช้สนับสนุนของกลุ่มนี้มีหลายประการ กล่าวคือ ภาษาและคำศัพท์เฉพาะทางเทคนิคการแสดงเป็นภาษาชวาโบราณ ประเพณีการชมละครวายังที่เก่าแก่ยังคงเห็นปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป กล่าวคือ บริเวณที่นั่งของผู้ชมฝ่ายชายอยู่คนละด้านของฝ่ายหญิง ผู้ชมฝ่ายชายนิยมนั่งด้านเดียวกับผู้เชิดหนังเพราะเป็นด้านที่ชมการแสดงได้สนุกกว่าด้านที่เห็นเงา ฝ่ายหญิงถูกกำหนดที่นั่งให้อยู่ด้านตรงข้ามกับผู้ชายเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ วายังเป็นการแสดงที่แปลกแตกต่างและโดดเด่นจากการแสดงอื่นๆ ทั้งหมดในเอเชียจึงน่าจะเชื่อได้ว่าศิลปะการแสดงวายังเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียอย่างแท้จริงกลุ่มที่สอง เชื่อว่าศิลปะการเชิดหนังนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เพราะอินเดียมีการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ วัฒนธรรมอินเดียเจริญและเก่าแก่กว่าชวา ประวัติศาสตร์ยุคโบราณของชวาได้เห็นการแผ่ขยายอารยธรรมอินเดียเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี ด้วยเหตุนี้ ชวาจึงน่าที่จะเป็นฝ่ายรับการแสดงวายังจากอินเดีย นอกจากนี้ตัวละครตลกในวายังของชวาที่ชื่อ ซีมาร์ ( Semar) มีลักษณะที่ละม้ายคล้ายคลึงกับตัวตลกอินเดีย ที่ปรากฏในละครสันสกฤตอันโด่งดังของอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่3-8กลุ่มที่สาม สนับสนุนความคิดที่ว่า การเชิดหนังและหุ่นชนิดต่างๆน่าที่มาจากประเทศจีนเพราะชนชาติจีนรู้จักศิลปะประเภทนี้มานานกว่า2000ปีแล้วโดยมีหลักฐานบันทึกเรื่องราวใน121 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า จักรพรรดิองค์หนึ่งในราชวงค์ฮั่นทรงโปรดให้ทำพิธีเข้าทรงเรียกวิญญาณนางสนมคนโปรดของพระองค์ การทำพิธีเช่นนี้อาศัยเทคนิคการเชิดหนังนั่นเองแม้ไม่มีข้อยุติที่แน่ชัดว่า จริงๆแล้ววายังของชวามาจากไหน และได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียวหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่น่าจะสันนิษฐานได้ก็คือ ในสังคมแบบชาวเกาะซึ่งนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ และมีประเพณีบูชาบรรพบุรุษเช่นเดียวกับสังคมโบราณในประเทศเอเชียทั้งหลายการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นกระบอกเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้วในสิ่งแวดล้อมของสังคมดังกล่าวความสัมพันธ์ของวายังกันพิธีกรรมทางศาสนาย่อมแยกกันไม่ออก เงาต่างๆที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ศิลปินผู้เชิดบันดาลให้เกิดขึ้น คนโบราณนิยมประกอบพิธีเรียกวิญญาณบรรพบุรุษในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน เพื่อนให้วิญญาณของบรรพบุรุษได้มารับรู้เป็นสักขีพยานการแสดงวายังจึงเป็นศิลปะการแสดงที่มีวามขลังและศักดิ์สิทธิ์ดุจพิธีกรรมทางศาสนา การทำพิธีนี้เป็นที่ยอมรับในสังคม การเชิดหนังวายังจึงถูกนำมาใช้โดยบุคคลสำคัญซึ่งทำตนเป็นสื่อกลางรับจ้างอัญเชิญวิญญาณ รวมทั้งการแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับปรัชญาและศีลธรรมอีกด้วย มีผู้สันนิษฐานว่าคำว่า “วายัง” มีวิวัฒนาการมาจากคำเก่าของชวา คือ “วาห์โย” ซึ่งแปลว่า การปรากฎให้เห็นซึ่งการดลใจทางวิญญาณต่อเมื่ออารยธรรมฮินดูเข้ามาสู่เกาะชวาแล้วนั้น วายังจึงได้พัฒนาเป็นศิลปะการแสดงที่แท้จริงได้รับการปรับปรุงจนเป็นศิลปะชั้นสูง มีบันทึกในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 11 วายัง ปูร์วาเป็นการแสดงที่แพร่หลายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในราชวังต่างๆ บนเกาะชวา นอกจากนี้ วานวรรณกรรมราชสำนักสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 ได้บันทึกเกี่ยวกับละครวายังว่าเป็นศิลปะการแสดงที่จับใจและสร้างความสะเทือนอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยม กษัตริย์หลายพระองค์ทรงอุปถัมภ์คณะละครวายัง บางพระองค์โปรดให้สร้างตัวหุ่นขึ้นใหม่ทั้งชุดเพื่อเก็บรักษาเป็นสมบัติของตระกูลวงศ์ศิลปินผู้เชิดหุ่นและพากย์บทบรรยายและบทเจรจาได้รับการดูแลอุปถัมภ์อย่างดีในฐานะศิลปินเอกประจำราชสำนัก กษัตริย์บางพระองค์ทรงสนพระทัยในศิลปะและเทคนิคการแสดงของผู้เชิดหนังถึงขนาดฝึกและออกแสดงด้วยพระองค์เอง แม้ว่าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ชาวมุสลิมเข้ามาปกครองเกาะชวาแล้วก็ตาม แต่ความนิยมละครวายังมิได้เสื่อมลง เพียงแต่ย้ายศูนย์กลางความเจริญไปพร้อมกับการเปลี่ยนที่ตั้งของเมืองหลวงของผู้ปกครองมุสลิม และจนกระทั่งทุกวันนี้ละครวายังได้รบการยกย่องว่าเป็นศิลปะสำคัญประจำชาติของอินโดนีเซียที่เก่าแก่ที่สุด2.ชิดของวายังการแสดงเชิดหุ่นเงาหรือวายัง ปูร์วาฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ จึงเรียกอีกชื่อว่า “วายัง กูลิต” (Wayang Gulit) ซึ่งหมายถึง การเชิดหนังเพราะกูลิตแปลว่าหนังสัตว์ วายัง กูลิตนี้เป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่นทั้งหมด การแสดงนี้รวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน อาทิ ด้านการประพันธ์บทละคร การดนตรี นาฎกรรม ศิลปกรรม ทั้งยังสะท้อนความลึกซึ้งในเชิงประวัติศาสตร์ การศึกษา ปรัชญาศาสนาความลึกลับและสัญลักษญ์ในการตีความหมายนอกจากวายัง กูลิตแล้วยังมีการแสดงวายังในรูปแบบอื่นอีกหลายชนิด ได้แก่1. วายัง เบเบร์ (Wayang Beber) เป็นการแสดงที่เก่าแก่พอๆกับวายัง กูลิต หรืออาจจะเก่าแก่กว่าด้วยซ้ำ เป็นการแสดงวายังชนิดที่ทดลองแรกสุด เบเบร์แปลว่าคลี่ตัว วิธีแสดงใช้วิธีคลี่ม้วนกระดาษหรือผ้าซึ่งเขียนรูปต่างๆ จากลายสลักบนกำแพงในโบสถ์หรือวิหาร ภาพวาดเหล่นนี้ผ่านตาผู้ชมไปเรื่อยๆเหมือนดูภาพการ์ตูน ปัจจุบันวายัง เบเบร์ไม่ได้รับความนิยมแล้วเพราะเทคนิคการแสดงไม่มีชีวิตชีวาและไม่ดึงูดผู้ชมเท่าวายัง กูลิต2. วายัง เกอโด๊ก (Wayang Gedog) เป็นการแสดงที่พัฒนามาจากวายัง กูลิต ตัวหุ่นของวายัง เกอโด๊กทำจากหนังสัตว์เช่นกัน นิยมแสดงเรื่องราวของเจ้าชายปันหยี (อิเหนา) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และเรื่องราวของกษัตริย์ชวาภายใต้ อารยธรรมมุสลิมผู้ที่ริเริ่มสร้างสสรค์การแสดงวายัง เกอโด๊ก เป็นนักบุญมุสลิมท่านหนึ่งซึ่งมีชีวิตในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 163. วายัง โกเล็ก (Wayang Golek) พัฒนามาจากวายัง กูลิต เช่นเดียวกัน หากแต่มีจุดประสงค์เพื่อจัดแสดงได้ในเวลากลางวันโดยไต้องอาศัยความมืดกับตะเกียง ตัวหุ่นของวายัง โกเล็กจึงมีลักษณะเป็นหุ่นตุ๊กตา 3 มิติ ทำจากไม้แกะสลัก ส่วนศรีษะของหุ่นทาสีสดใสสวยงาม ลำตัวหุ่นซึ่งทำจากไม้เช่นเดียวกันมีแค่เอว จากเอวลงไปใช้ผ้าบาติกคลุมลงให้ยาวเสมือนสวมเครื่องแต่งกายหรือกระโปรงกรอมเท้า ภายในผ้านี้มีที่จับตัวหุ่น ดังนั้นเวลาเชิดจะไม่เห็นมือผู้เชิด ไหล่และข้อศอกตัวหุ่นขยับได้โดยใช้วิธีเชื่อมกับก้านไม้ยาวๆสำหรับกระตุกให้เคลื่อนไหวได้ เนื้อเรื่องที่แสดงกล่าวถึงเรื่องราวของนักรบผู้กล้าหาญของต้นราชวงศ์ชาวมุสลิมในหมู่เกาะชวา ผู้ที่คิดสร้างวายัง โกเล็ก คนแรกเป็นนักบุญมุสลิมเช่นกัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันการแสดงวายัง โกเล็ก ยังคงได้รับความนิยมในภาคกลางและภาคตะวันตกของเกาะชวา4. วายัง กลิติก (Wayang Klitik) หมายถึง วายังขนาดเล็กและบาง ตัวหุ่นทำจากไม้แต่มีขนาดเล็กและบางกว่าวายัง โกเล็กมาก ส่วนแขนทำด้วยหนังสัตว์เชื่อมต่อกับส่วนลำตัวให้ดูกลมกลืนกัน ตัวหุ่นสูงประมาณ 10 นิ้ว เวลาเชิดหันด้านข้างเหมือนกับวายัง กูลิต เรื่องราวที่แสดงกล่าวถึงสมัยที่ศูนย์กลางแห่งอารยธรรมฮินดูเสื่อมลงและในที่สุดผู้บุกรุกชาวมุสลิมก็เข้ามาครอบครองในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นการแสดงที่มุ่งสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของชาวมุสลิมวายัง กลิติก ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือ เป็นการแสดงหุ่นดีบุกซึ่งตัวขนาดเล็กเท่านิ้วคนตั้งไว้บนโต๊ะกระจกและทำให้เคลื่อนไหวโดยการใช้แม่เหล็กลากไปใต้กระจก แขนของหุ่นเหล่านี้เคลื่อนไหวได้ วายัง กลิติกชนิดนี้สร้างขึ้นสำหรับเด็ก5. วายัง มัดยา (Wayang Madya) เป็นการแสดงตามแบบฉบับของอินโดนีเซีย เล่าเรื่องราวของชาวอาหรับและวรรณคดีต่างชาติในเอเชีย รวมทั้งเรื่องราวของบุคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระศาสดามุฮัมมัดการแสดงชนิดนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลาม นอกจากนี้การแสดงวายังชนิดที่ต้องเชิดตัวหนังและหุ่นแบบต่างๆ ตังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีศิลปะการแสดงที่น่าสนใจที่เลียนแบบการเชิดหนังหรือเชิดหุ่นกระบอกซึ่งใช้คนแสดงจริง ได้แก่1. วายัง โตเป็ง (Wayang Topeng) เรียกสั้นๆว่า “โตเป็ง” เป็นระบำหน้ากาก ผู้ชายแสดงล้วน หน้ากากแกะสลักจากไม้มีลักษณะหน้าปูดนูนดูผิดธรรมชาติ การแสดงนี้เชื่อว่ามีความเป็นมาจากพิธีกรรมบวงสรวงบูชาภูตผีปีศาจในสมัยโบราณ ลีลาการเต้นคล้ายตัวหุ่นจึงใช้ชื่อว่า “วายัง” คณะแสดงมีจำนวน 10 คน แบ่งเป็นผู้แสดง 6 คน และนักดนตรี 4 คน ควบคุมการแสดงโดยผู้กำกับวงซึ่งเรียกว่า”ดาลัง” เรื่องราวที่นิยมแสดงคือการผจญภัยของเจ้าชายปันหยี กษัตริย์และนักรยที่มีชื่อเสียงของชวาในศตวรรษที่ 12 ส่วนใหญ่เป็นฉากรักและฉากรบ บางโอกาสจะเพิ่มฉากตลกบันเทิงเพื่อให้การแสดงมีรสชาติมากขึ้น แต่การแทรกบทตลกจะต้องไม่ทำให้เนื้อเรื่องหลักเสียหาย เป็นการแสดงที่นิยมในภาคตะวันออกของชวาในบาหลี เป็นที่โปรดปรานทั้งในราชวังและในระดับชาวบ้าน การแสดงชนิดนี้มีข้องบังคับอย่างหนึ่งคือ ถ้าแสดงต่อหน้าพระพักตร์กษัตริย์ ผู้แสดงจะต้องถอดหน้ากากออก ดังนั้นผุ้แสดงต้องแสดงบทบาทและอารมณ์มากกว่าปกติผู้แสดงต้องแสดงบทบาทและอารมณ์มากกว่าปกติ2. วายัง โอรัง (Watang Orang) แปลว่า "หุ่นที่เป็นมนุษย์" เป็นนาฏศิลป์อินโดนีเซียที่เป็นแบบฉบับสมบูรณ์โดยมาตราฐานของศิลปะราชสำนัก ได้รับอิทธิพลจากนาฏลีลาของชาวชาวตะวันออกเป็นระบำที่ไม่สวมหน้ากาก นำมาเผยแพร่ในชวาตะวันตกและภาคกลาง แสดงเรื่องราวที่นำมาจากรามายณะและมหาภารตะ วายัง โอรัง จึงกลายเป็นวายัง กูลิต ฉบับที่ใช้คนแสดงแทนการเชิดหนัง ในระยะแรกเครื่องแต่งกายเป็นลักษณะเครื่องแต่งกายทั่วไปในราชวัง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายให้คล้ายกับที่ปรากฏหุ่นวายัง กูลิต การแสดงที่พิเศษนั้น ผู้แสดงเป็นเจ้านายและเชื้อพระวงศ์ในราชสำนักทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะที่แท้จริงของราชสำนักชวา ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธุรกิจชาวจีนผู้หนึ่งได้จัดตั้งคณะละคราวยัง โอรัง ที่มีผู้แสดงเป็นศิลปินอาชีพ และมีลักษณะเป็นธุรกิจ ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก จนทุกวันนี้มีคณะละครประเภทนี้ 20 กว่าคณะ ส่วนในราชสำนัก หลังจากที่เศรษฐกิจตกต่ำลงในช่วงสงครามโลกทำให้ไม่สามารถทำนุบำรุงเลี้ยงดูคณะละครในวังได้อีกต่อไป ในที่สุดการแสดงวายัง โอรังก็ต้องถึงแก่การสิ้นสุดลง เหลือแต่คณะละครของศิลปินนักธุรกิจเท่านั้นการแสดงวายงในอินโดนีเซียมีมากมายหลายชนิด หากแต่วายัง กูลิตและวายัง โกเล็กเท่านั้น ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด โดยเฉพาะวายัง กูลิตหรือวายัง ปูร์วา เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับนานาชาติ ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติและศิลปะการแสดงอันเป็นเอกลักษณ์ของดินโดนีเซียก็ว่าได้3. องค์ประกอบในการแสดงองค์ประกอบสำคัญของการแสดงวายัง กูลิต มีดังนี้ตัวหนังหรือตัวหุ่นที่ใช้เชิดส่วนใหญ่แล้วตัวหนังวายัง กูลิต ทำจากหนังควาย ตัวหนังที่มีคุณภาพดีที่สุดต้องทำจากหนังลูกควาย เพราะสะอาดปราศจากไขมันจะทำให้สีที่ทาติดทนดี วิธีการทำตัวหนังนั้น จะต้องนำหนังลูกควายมาเจียน แล้วฉลุเป็นรูปร่างและลวดลาย ใบหน้าของตัวหนังหนด้านข้าง ลำตัวหันลักษณะเฉียง ส่วนเท้าหันด้านข้างทิศทางเดียวกันกับใบหน้าของตัวหนังนายหนังหรือดาแล เดะแม สาแม เล่าว่าตัวเองนั้นสืบทอดการแสดงนี้ต่อมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อ ปัจจุบันคณะของเดะแมมีอายุกว่า 40 ปี แต่มีจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญนั่นคือ เดะแม คิดว่าวายังกูเละควรจะต้องสื่อสารได้กับทั้งคนไทยพุทธและคนมลายูมุสลิม จึงคิดปฏิวัติการแสดงด้วยการเริ่มใช้ภาษาไทยพากย์สลับกับภาษามลายูถิ่นที่เคยใช้พากย์เป็นพื้นฐาน และได้เปลี่ยนชื่อคณะจากเดิมคือ เดะแม ตะลุงศิลป์ มาเป็น “เดะแม ตะลุงสองภาษา”แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ก็นับเวลาผ่านไปเกือบ 20 เต็มนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะเดะแมเล่าต่อไปว่า การแสดงวายังกูเละในสมัยก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และตัวเดะแมก็เคยข้ามไปเล่นประชันกับวายังกูลิตของฝั่งมาเลย์มาแล้ว เดะแมบอกว่าการเดินทางไปครั้งนั้นสนุกมาก แต่ “หนังทางนู้นเค้าเล่นกันแบบเงียบๆ ไม่มีตลกอะไร แต่ว่าหนังยาวี หนังในไทยเราเนี่ย เค้าเรียก ‘ข้าวยำ’ มีไอ้นู้นมั่ง ไอ้นี้มั่ง มีเพลงมั่ง มีตลกแปลกๆ มั่ง แต่ทางนู้นเค้าเล่นแบบนิยาย ไม่เหมือนบ้านเรา”1 เดะแมอธิบายต่อไปว่า ถ้าจะให้ถึงรสชาติแบบข้าวยำในทรรศนะของแก ก็ต้องเล่นให้สุดอารมณ์ เช่น “เวลาเศร้าก็ต้องให้เศร้าที่สุด ถ้าตลกก็ต้องตลกให้แบบว่า ‘เยี่ยวใส่ผ้าเลย’ เวลาเศร้าก็ต้องให้น้ำตาไหล”2แม้วายังกูเละจะเคยได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่เคยเดินทางขึ้นไปเล่นไกลกว่ากรุงเทพมหานครเลย เอาเข้าจริงแล้วการเดินทางมาเล่นที่กรุงเทพฯ หรือเมืองหลวงก็มักจะเป็นโอกาสพิเศษเท่านั้นหรือแม้จะขึ้นมาเล่นที่จังหวัดพัทลุงหรือนครศรีธรรมราชบ้าง ก็มักจะขึ้นมาในลักษณะงานแสดงสาธิตไม่ใช่งานหาหรืองานจัดรายการ ยิ่งสถานการณ์อย่างในปัจจุบันทำให้วายังกูเละต้องพบกับเงื่อนไขที่ยากลำบากมากขึ้น เพราะมีงานรื่นเริงมหรสพน้อยลง มีผู้ว่าจ้างน้อยลง เดะแมกล่าวว่า แม้จะยังมีคนคอยชมอยู่ “แต่ว่าไม่เหมือนเดิม …[เพราะ] … เค้าก็กลัวเหมือนกัน” 3 ที่สำคัญตัวเดะแมและชาวคณะก็กลัวด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางไปแสดงในที่ต่างๆ และเมื่อถามถึงอนาคตการแสดงวายังกูเละของนายหนังรุ่นต่อไป เดะแมกล่าวว่า “[ก็ยังพอจะ] มีโอกาส แต่ว่า น้อย” 4ไม่เพียงแต่เงื่อนไขในพื้นที่ที่บีบให้มีการแสดงวายังกูเละน้อยลงเท่านั้น การจงใจมองข้ามหรืออาจด้วยปัญหาความลักลั่นไม่ลงตัวในนิยามของความเป็นชาติไทย ทำให้ส่วนงานของรัฐที่มีหน้าที่โดยตรงต่อ “สิ่งที่อ้างว่าเป็น” มรดก-วัฒนธรรม-เอกลักษณ์ของชาติไทย ยังคงเก็บวายังกูเละไว้ ณ ที่ใต้สุดของสิ่งที่เรียกว่าศิลปะการแสดงของชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
nongjik, pattani
ลีลาของฉัน ฉันขอลิขิต ตัวฉันเอง