วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วังเก่าปัตตานี






วังจะบังติกอ




วังหนองจิก





วังสายบุรี




วังยะหริ่ง

วังเก่าในปัตตานี
วังเก่าในปัตตานี วังเก่าสมัย 7 หัวเมือง
ระหว่างปี พ.ศ. 2359 –2445 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเสิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯให้เจ้าเมืองสงขลาลงไปจัดการปกครองเมืองปัตตานี
โดยแบ่งเมืองปัตตานีออกเป็น 7 เมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี ยะลา ยะหริ่ง หนองจิก สายบุรี ระแงะ และรามันห ์ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา
นราธิวาสในปัจจุบัน แต่ละเมืองจะมีเจ้าเมืองปกครอง วังต่างๆ จึงเกิดขึ้นตามเมืองทั้ง 7 นี้ วังในสมัยนั้นเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและที่ทำงานของเจ้าเมือง และ
เรียกกันต่อๆ มาว่า วัง 7 หัวเมือง
สำหรับวังเก่าที่ปรากฏในจังหวัดปัตตานีในปัจจุบันได้แก่
วังจะบังติกอ
วังจะบังติกอสร้างในสมัยตนกูมูฮัมหมัด (พ.ศ. 2388 – 2399) เชื้อสายราชวงศ์กลันตันซึ่งพระบาทสมเด็พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปัตตานี วังจะบังติกอตั้งอยู่ริมแม่น้ำปัตตานีตรงสามแยกตำบลจะบังติกอในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ตัววังหันหน้าไปทางทิศ
ตะวันออกบนเนื้อที่ 7 ไร่ วังนี้สร้างโดยสถาปนิกชาวจีน ตัววังล้อมรอบด้วยกำแพงทึบก่ออิฐถือปูน รูปทรงของวังเป็นบ้านชั้นเดียวขนาดใหญ่
หลังคาทรงปั้นหยา หรือแบบลีมะ ตัวอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง 1 เมตร สร้างด้วยไม้ ภายในอาคารมีห้องโถงขนาดใหญ่ ใช้เป็นที่ทำงาน
ของเจ้าเมือง ส่วนด้านหลังจองห้องโถงจะเป็นที่อยู่อาศัยของภรรยาและบริวาร
วังจะบังติกอได้ใช้เป็นศูนย์กลางการปกครองในท้องถิ่นและเป็นที่อยู่
อาศัยของเจ้าเมืองปัตตานีคนต่อๆมา ได้แก่ ตนกูปูเต๊ะ บุตรชายคนโตของตนกูมูฮัมหมัด เมื่อตนกูปูเต๊ะถึงแก่กรรม บุตรชายคนโต คือ ตนกูตีมุง ได้
เป็นเจ้าเมืองต่อจนกระทั่งถึงสมัยตนกูอับดุลกอร์เดร์ เจ้าเมืองคนสุดท้าย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้จัดการปฏิรูป
การปกครองทั้งประเทศ จึงได้ยุบเมืองต่างๆ ทั้ง 7 เมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี ยะหริ่ง ยะลา รามันห์ สายบุรี ระแงะ และหนองจิก รวมเป็นมณฑล
เรียกว่ามณฑลปัตตานี ต่อมาวังซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการปกครองก็เปลี่ยนสภาพไปกลายเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของบุตรหลานและบรรดาญาติๆ
สืบต่อมาถึงปัจจุบัน
วังพิพิธภักดี
วังพิพิธภักดีตั้งอยู่ตรงข้ามกับวังสายบุรี สืบเนื่องจากพระพิพิธภักดี ได้มาหลงรักหลานสาวพระยาสุริยสุนทรรบวรภักดีบุตรชายของเจ้าเมืองยะหริ่ง
ต่อมาเมื่อพระพิพิธภักดีได้แต่งงานกับหลานสาวพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี จึงได้สร้างวังพิพิธภักดีเป็นเรือนหออยู่ใกล้ๆ กับวังสายบุรีนั่นเอง
วังพิพิธภักดี เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ช่างท้องถิ่นเป็นผู้สร้างโดยนำศิลปะแบบตะวันตกและศิลปะของท้องถิ่นมาผสมผสานกันคือ มีหน้ามุขแบบตะวันตก
ลูกกรงบันไดเป็นลายปูนปั้นรูปดอกไม้ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือ ผนังกั้นห้องภายในอาคารเป็นผนังโค้งอิทธิพลศิลปะตะวันตก มีช่องลมเป็นลวดลาย
พรรณพฤกษาอิทธิพลศิลปะชวา ปัจจุบัน วังพิพิภักดียังคงมีสภาพสมบูรณ์ โดยได้มีการดูแลตกแต่งวังหลังนี้ให้คงอยู่ในสภาพเดิม
วังพิพิธภักดีจึงเป็น วังอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ที่คงความงดงามอย่างสมบูรณ์แบบในปัจจุบัน
วังยะหริ่ง
วังยะหริ่งสร้างโดยพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม ในปี พ.ศ. 2438 ตั้งอยู่หมู่ที่ 1ตำบลยามู ในเขตสุขาภิบาลยามู อำเภอยะหริ่ง
จังหวัดปัตตานี ลักษณะรูปทรงของวังเป็นอาคาร 2 ชั้น ครึ่งปูนครึ่งไม้ แบบเรือนไทยมุสลิมผสมกับแบบบ้านแถบยุโรป ตัววังเป็นรูปตัวยู (U)
ชั้นบนภายในอาคารจัดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ด้านข้างของตัวอาคารทั้ง 2 ด้าน เป็นห้องสำหรับพักผ่อนของเจ้าเมืองและบุตรธิดาข้างละ 4 ห้อง
ชั้นล่างเป็นลานโล่งแบบใต้ถุนบ้าน

ลักษณะเด่นของบ้านคือ บันไดโค้งแบบยุโรป ช่องแสงประดับด้วยกระจกสีเขียว แดง และน้ำเงิน ช่องระบายอากาศและหน้าจั่วทำด้วยไม้ ฉลุเป็น
ลวดลายพรรณพฤกษา ตามแบบศิลปะชวา และศิลปะแบบตะวันตก ทำให้ตัววังสง่างามมาก ในปัจจุบันวังยะหริ่งได้รับการดูแลจากเจ้าของวังเป็น
อย่างดี โดยมีการบูรณะครั้งหลังสุดเมื่อปลายปี พ.ศ. 2541 ปัจจุบันมีสภาพสมบูรณ์
วังสายบุรี
วังสายบุรีตั้งอยู่เลขที่ 34 ถนนกลาพอ ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วังนี้สร้างโดยสถาปนิกชาวชวา และช่างท้องถิ่น เมือปี พ.ศ. 2428
ในสมัยพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี เจ้าเมืองสายบุรี ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลักษณะรูปทรงของวังสายบุรีเป็นอาคารไม้ทั้งหลังมี 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา เป็นเรือนไทยมุสลิมที่ไรับอิทธิพลมาจากศิลปกรรมของชวา ตัววังเป็นรูป
ตัวแอล (L) จากระยะเวลาอันนาวนานทำให้ตัววังทรุดโทรมลง ไม่ได้มีการซ่อมแซมทำให้ชั้นบนไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยลักษณะเด่นของวังสายบุรี
คือพื้นไม้ทำด้วยไม้ตะเคียนปูพื้นเป็นเส้นทแยงมุมมีแกนกลางตีเน้นเป็นฟันปลา ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง สำหรับช่องระบายอากาศ นิยมฉลุไม้เป็นลวดลาย
พรรณพฤกษาตามแบบศิลปะชวา นอกจากนี้เชิายตกแต่งโดยใช้ทองเหลืองฉลุโปร่งด้วยลวดลายพรรณพฤกษาตามแบบศิลปะชวา
วังหนองจิก
วังหนองจิกตั้งอยู่ที่บ้านตุยง ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก เจ้าเมืองหนองจิกคนสุดท้าย คือ พระยาเพชราภิบาลนฤเบศร์วาปีเขตมุจลินท์นฤบดินทร์
สวามิภักดิ์ (พ่วง ณ สงขลา ) เป็นผู้อยู่อาศัยในวังนี้ ประวัติการก่อสร้างสันนิษฐานว่าอาจสร้างมาตั้งแต่เจ้าเมืองหนองจิกคนก่อน (ทัด ณสงขลา)
ก่อนปี พ.ศ.2437 ตัววังที่เหลืออยู่ประกอบด้วยอาคารบริวาร 2 หลังเป็นอาคารชั้นเดียว แต่ยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร สำหรับอาคารที่เป็นตัววังนั้น
ถูกรื้อถอนไปในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา วังหนองจิกล้อมรอบด้วยกำแพงวัง แถบซุ้มประตูแบบสถาปัตยกรรมจีนภายในบริเวณวังมีบ่อน้ำ
แผ่นอิฐปูพื้นขนาด 1*1 ฟุต สภาพยังสมบูรณ์ ส่วนอาคารบริวารที่เหลืออยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก กรมศิลปากรมีโครงการบูรณะในปีงบประมาณ
2543

แหล่งที่มา: คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2543. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกสารและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
TOP

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ทำไมสีตัวหนังจืดจัง อ่านยาก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
nongjik, pattani
ลีลาของฉัน ฉันขอลิขิต ตัวฉันเอง